Page 79 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 79
บทที่ ๓
กฎหมายไทยที่เกี่ยวกับการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
เมื่อพิจารณาบทบัญญัติแห่งกฎหมายไทยหลายฉบับแล้วพบว่า ได้มีการก่าหนด
บทบัญญัติเกี่ยวกับการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวไว้ในกฎหมายหลายฉบับ
ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ สามารถแบ่งตาม
ประเภทแห่งสิทธิ ได้ดังนี้
๓.๑ ประเภทของสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภท และมีรายละเอียด
ดังนี้
๓.๑.๑ สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
(๑) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๕
สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัว
ย่อมได้รับความคุ้มครอง
การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยัง
สาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความ
เป็นอยู่ส่วนตัว จะกระท่ามิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจาก
ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
(๒) ประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา ๓๒๒ – ๓๒๓)
มีสาระส่าคัญเป็นการคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลในลักษณะความผิดฐาน
เปิดเผยความลับ ซึ่งเป็นการก่าหนดความผิดกับผู้ประกอบวิชาชีพที่ล่วงรู้ความลับ เช่น แพทย์ พยาบาล
นักบวช ทนายความ ผู้สอบบัญชี ผู้รับการอบรมในอาชีพ ที่เปิดเผยความลับ
(๓) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา ๔๒๐ มาตรา ๔๒๒ และ
มาตรา ๔๒๓)
มีสาระส่าคัญเกี่ยวกับความรับผิดว่าด้วยละเมิดในทางแพ่งอันเป็นกรณีที่บุคคล
หนึ่งได้ล่วงละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น จนก่อให้เกิดความเสียหายในเกียรติยศ ชื่อเสียง หรือสิทธิอื่นใด
ตามที่กฎหมายบัญญัติรับรองและคุ้มครองให้
(๔) พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ .๒๕๔๐
มีสาระส่าคัญเป็นการก่าหนดให้ประชาชนมีสิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ
โดยมีข้อยกเว้นอันไม่ต้องเปิดเผยที่แจ้งชัด และจ่ากัดเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่หากเปิดเผยแล้วจะเกิดความ
๖๔