Page 78 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 78

๖๓


                   essentiellement privée de la personnalité humaine) “มิได้สัดส่วน” กับวัตถุประสงค์ที่มุ่งหมายซึ่ง

                   ในที่นื้คือ การคุ้มครองจิตใจ
                                             ต่อมา ศาลแห่งยุโรปได้ยืนยันแนวค่าวินิจฉัยดังกล่าวข้างต้นในคดี  Norris

                   ซึ่งศาลวินิจฉัยเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๑๙๘๘ และในคดี Modinos c/ Chypre เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๑๙๙๓

                   อีกด้วย

                                 จากการศึกษาสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวและการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว

                   ในประเทศต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า สิทธิชีวิตส่วนตัวของบุคคลเป็นสิทธิมนุษยชนที่

                   ได้รับการรับรองและคุ้มครองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  และอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการ
                   คุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขึ้นพื้นฐาน และกฎหมายภายในของประเทศต่างๆ ทุกประเทศ สิทธิใน

                   ความเป็นอยู่ส่วนตัวมีคุณค่าในระดับรัฐธรรมนูญเลยทีเดียว ดังนั้น บุคคลทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นองค์กรของ
                   รัฐหรือเอกชนด้วยกันจึงย่อมมีหน้าที่หรือความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องเคารพสิทธิในความเป็นอยู่

                   ส่วนตัวของบุคคลอื่น และจะต้องไม่กระท่าการอย่างใดๆ  อันเป็นการแทรกแซงหรือรุกล้่าสิทธิดังกล่าว

                   ดังนั้น โดยหลักแล้ว องค์กรของรัฐย่อมจะด่าเนินมาตรการใดๆ อันเป็นการแทรกแซงหรือล่วงละเมิดการ
                   ใช้สิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลมิได้  อันจะเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของปฏิญญาสากลและอนุสัญญา

                   แห่งยุโรป  อย่างไรก็ตาม  องค์กรของรัฐอาจมีความจ่าเป็นต้องด่าเนินมาตรการใดๆ เพื่อ “ประโยชน์

                   สาธารณะ” อันอาจมีผลเป็นการแทรกแซงหรือล่วงละเมิดสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลได้ในบางกรณี
                    แต่ทั้งนี้  การด่าเนินมาตรการเช่นนั้นโดยองค์กรของรัฐจะกระท่าได้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไข

                   ทั้งสามประการดังที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๘ วรรคสอง ของอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิ

                   มนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานเท่านั้น ซึ่งได้แก่ การด่าเนินมาตรการนั้นมีกฎหมายบัญญัติให้กระท่าได้
                   โดยยึดหลักการเข้าถึงข้อมูลของบุคคลที่เกี่ยวข้อง และการคาดหมายล่วงหน้าได้ถึงผลของการใช้บังคับ

                   ของกฎหมายที่เกี่ยวกับตน การด่าเนินมาตรการนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ประการหนึ่งประการ
                   ใดอันเกี่ยวด้วยประโยชน์สาธารณะตามที่บัญญัติไว้ อันได้แก่ ความมั่นคงแห่งรัฐ ความสงบเรียบร้อยและ

                   ความปลอดภัยของประชาชน ประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ การป้องกันการกระท่าความผิดอาญา
                   และการคุ้มครองสุขภาพและจิตใจ หรือการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น และการด่าเนินมาตรการ

                   นั้นจะต้องเป็นสิ่งจ่าเป็นในสังคมประชาธิปไตยและได้สัดส่วนกับการบรรลุวัตถุประสงค์ ที่มุ่งหมายนั้น

                   โดยยึด “หลักความได้สัดส่วน” ระหว่างการด่าเนินมาตรการนั้นกับผลที่เกิดขึ้นต่อการแทรกแซงสิทธิใน
                   ชีวิตส่วนตัวของบุคคล หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นการชั่งน้่าหนักระหว่างประโยชน์สาธารณะกับประโยชน์

                   ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในชีวิตส่วนตัวเป็นส่าคัญ  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวมและใน

                   ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลที่เกี่ยวข้องให้น้อยที่สุด
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83