Page 72 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 72

๕๗


                                             ศาลแห่งยุโรปด้านสิทธิมนุษยชนวินิจฉัยเป็นประการแรกว่าการติดต่อทาง

                   โทรศัพท์  (les communications téléphoniques)  รวมอยู่ในสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลเกี่ยวกับ
                   การติดต่อทางจดหมายที่จะต้องได้รับความคุ้มครองตามข้อ ๘ วรรคหนึ่ง ของอนุสัญญาแห่งยุโรปฯ  ศาล

                   ได้วินิจฉัยต่อไปว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีลงวันที่  ๑๓  สิงหาคม๑๙๖๘

                   เป็นไปตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ก่าหนดไว้ในวรรคสองของข้อ ๘ หรือไม่ ทั้งนี้ การตีความข้อยกเว้นตามวรรค
                                                                                      ๗๗
                   สองของข้อ ๘ นั้นจะต้อง “ตีความโดยเคร่งครัด”  (une interprétation étroite)   ศาลได้พิจารณาว่า
                   การด่าเนินมาตรการขององค์กรของรัฐในการดักฟังข้อมูลทางโทรศัพท์มีกฎหมายก่าหนดรองรับ  อีกทั้ง
                   เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ที่ก่าหนดไว้โดยเคร่งครัด  เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวได้ก่าหนดให้ด่าเนิน

                   มาตรการดังกล่าวเพื่อต่อสู้กับภยันตรายหรือปกป้องความสงบสุข  และการด่ารงอยู่หรือความปลอดภัย
                   แห่งสหพันธรัฐและประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับการรักษาความมั่นคงแห่งรัฐ การรักษาความสงบเรียบร้อย

                   และการป้องกันการกระท่าความผิดทางอาญาตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสองของข้อ  ๘  ของอนุสัญญาแห่ง

                   ยุโรปฯ
                                             ศาลแห่งยุโรปด้านสิทธิมนุษยชนได้พิจารณาต่อไปว่าการด่าเนินมาตรการ

                   ดังกล่าวตามที่กฎหมายสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีก่าหนดนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขประการที่สามตามข้อ ๘

                   วรรคสอง กล่าวคือ มาตรการนั้นเป็นสิ่งจ่าเป็นในสังคมประชาธิปไตยต่อการท่าให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น
                   หรือไม่ ในประเด็นนี้ ศาลเห็นว่าในสังคมประชาธิปไตยในปัจจุบันถูกคุกคามโดยการจารกรรมในรูปแบบ

                   ที่สลับซับซ้อน (des formes très complexe d’espionnage) และโดยการก่อการร้าย (le terrorisme)

                   และเพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐจึงควรที่จะสามารถเฝ้าสังเกตการณ์ในทางลับ
                   ปัจจัยต่างๆ ที่อาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยที่เกิดขึ้นในเขตแดนของตนได้ ดังนั้น จึงต้องหาดุลยภาพ

                   ระหว่างการใช้สิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองตามวรรคหนึ่งของข้อ  ๘  ของอนุสัญญา
                   แห่งยุโรปฯ  และความจ่าเป็นที่จะต้องด่าเนินการเฝ้าสังเกตการณ์ในทางลับ  เพื่อคุ้มครองสังคม

                   ประชาธิปไตยโดยส่วนรวม  ศาลเห็นว่ายังไม่เป็นการเพียงพอที่มาตรการเฝ้าสังเกตการณ์จดหมาย  (la

                   mesure de surveillance de la correspondance) ตามที่กฎหมายสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีก่าหนด
                   นั้นต้องเป็นไปตามเงื่อนไขประการที่สามตามวรรคสองของข้อ  ๘  เท่านั้นหากแต่การด่าเนินมาตรการ

                   ดังกล่าวยังจะต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบควบคุม (l’objet d’un contrôle) อีกด้วย
                                             ในส่วนที่ว่ามาตรการเช่นนั้นเป็นสิ่งจ่าเป็นในสังคมประชาธิปไตย

                   ต่อวัตถุประสงค์ที่มุ่งหมายหรือไม่นั้น  ศาลเห็นว่า  ตามกรณีที่ร้องเรียน  มาตรการการดักฟังข้อมูลทาง

                   โทรศัพท์ใช้บังคับกับบุคคลบางประเภทเท่านั้น ซึ่งมีสิ่งที่บ่งบอก (d’indices) ถึงความต้องสงสัยว่าบุคคลนั้น
                   จะกระท่าหรือได้กระท่าความผิดทางอาญาที่ร้ายแรงต่อความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของรัฐซึ่งต้อง

                   โทษตามประมวลกฎหมายอาญา  มาตรการดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายก็ต่อเมื่อไม่สามารถที่จะได้

                   ข้อเท็จจริงมาโดยวิธีการอย่างอื่นหรือเป็นการยากอย่างมากที่จะแสวงหาหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการนั้นได้



                          ๗๗
                             § 38 à 40 de l’arrêt Crémieux c/ France, 55 à 57 de l’arrêt Funke.
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77