Page 67 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 67

๕๒


                   ๒.๕ ตัวอย่างคดีร้องเรียนเกี่ยวกับการกระท าขององค์กรของรัฐอันเป็นการแทรกแซงสิทธิในชีวิต

                   ส่วนตัวของบุคคล

                                 ๒.๕.๑ คดีเกี่ยวกับการแทรกแซงสิทธิในชีวิตส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
                                                          ๖๙
                                        (๑) คดี  Leander   กรณีการตรวจสอบในทางลับโดยฝ่ายปกครอง
                   (les contrôles secrets du personnel)  เกี่ยวกับการกระท าความผิดทางอาญาของเจ้าหน้าที่
                   ของรัฐ

                                        ศาลแห่งยุโรปด้านสิทธิมนุษยชนได้วินิจฉัยว่าข้อมูลต่างๆ  ที่ถูกบันทึกไว้

                   ในทะเบียนของเจ้าหน้าที่ต่ารวจเกี่ยวข้องกับชีวิตส่วนตัวของผู้ร้อง ดังนั้น การจดบันทึกหรือการเปิดเผย
                   ข้อมูลดังกล่าวแก่ฝ่ายปกครอง โดยที่ผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นไม่สามารถที่จะท่าการปฏิเสธมิให้ได้  ย่อมเป็นการ

                   กระท่าที่กระทบต่อสิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับการเคารพในชีวิตส่วนตัวของตน  อย่างไรก็ตาม  ในประเด็น
                   ต่อไปที่ว่าการกระท่าดังกล่าวอันเป็นการแทรกแซงสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลเป็นไปตามเงื่อนไขต่างๆ

                   ที่ก่าหนดไว้ในข้อ  ๘  วรรคสองหรือไม่  ศาลได้พิจารณาว่าการด่าเนินการดังกล่าวเป็นการกระท่าที่มี

                   วัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมาย (un but légitime) แต่จะเป็นการกระท่าที่มีกฎหมายบัญญัติให้กระท่า
                   ได้หรือไม่นั้น ในความเห็นของศาล  การกระท่าที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้กระท่าได้นั้นจะต้องมีฐานทาง

                   กฎหมายภายใน  (une  base  en  droit  interne)  ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นสามารถเข้าถึงได้  หรือตรวจดูได้

                   (accessibilité) และผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นคาดหมายถึงผลที่อาจเกิดขึ้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตนเป็นการ
                   ล่วงหน้าได้ (prévisibilité) ศาลจึงพิจารณาว่าการตรวจสอบทางลับเกี่ยวกับข้อมูลการกระท่าความผิด

                   ทางอาญาของเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในต่าแหน่งส่าคัญเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ

                   เงื่อนไขเกี่ยวกับการคาดหมายได้ล่วงหน้าดังกล่าวนั้นมิอาจน่ามาใช้บังคับได้ในลักษณะอย่างเดียวกันกับ
                   สถานการณ์หรือบริบทอื่น  แต่อย่างไรก็ตาม  กฎหมายจะต้องใช้ถ้อยค่าที่ค่อนข้างชัดเจนเพียงพอ

                   ที่จะท่าให้เห็นเงื่อนไขต่างๆ  ของการแทรกแซงในทางลับของฝ่ายปกครองต่อสิทธิในชีวิตส่วนตัว
                   ของบุคคล ดังนั้น ศาลจึงวินิจฉัยว่ารัฐก่าหนด  เกี่ยวกับการตรวจสอบเจ้าหน้าที่  (l’ordonnance sur le

                   contrôle  du  personnel) ที่รัฐบาลออกโดยอาศัยอ่านาจของฝ่ายบริหารและซึ่งประกาศโฆษณาใน
                   รัฐกิจจานุเบกษาย่อมเป็นฐานทางกฎหมายที่อ้างอิงได้  (une  base  solide)  ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย

                   ย่อมเข้าถึงได้ และท่าให้บุคคลเหล่านั้นสามารถคาดหมายล่วงหน้าอย่างเพียงพอเกี่ยวกับผลที่อาจเกิดขึ้น

                   แก่บุคคลเหล่านั้นนอกจากนี้  รัฐก่าหนดดังกล่าวยังได้ก่าหนดเกี่ยวกับลักษณะของข้อมูลที่จัดเก็บไว้ใน
                   ทะเบียนซึ่งสามารถเปิดเผยแก่ฝ่ายปกครองได้  และวิธีด่าเนินการในการเปิดเผยข้อมูลนั้น  กล่าวคือ

                   คณะกรรมการต่ารวจแห่งชาติ  (le Conseil national de la police) เป็นผู้พิจารณาก่าหนดให้เปิดเผย

                   ข้อมูลได้หรือไม่อย่างไร





                          ๖๙  Arrêt Leander, 26 mars 1987, obs. L.-E. PETTITI et F. TEITGEN, Rev. sc. crim. et dr. pén. comp.,

                   1987, p. 749.
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72