Page 68 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 68
๕๓
ในตอนท้าย ศาลยังได้พิจารณาปัญหาว่าการกระท่าการอันเป็นการแทรกแซง
สิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลที่มีกฎหมายบัญญัติให้กระท่าได้ดังกล่าวข้างต้นนั้นเป็นสิ่งจ่าเป็นในสังคม
ประชาธิปไตยต่อความปลอดภัยของประชาชนหรือไม่อีกด้วย เพื่อการวินิจฉัยของศาล ศาลจ่าต้องท่าการ
ชั่งน้่าหนัก (mettre en balance) ระหว่างประโยชน์ของรัฐ (l’intérêt de l’Etat) อันเกี่ยวกับการคุ้มครอง
ความปลอดภัยแห่งรัฐ กับความร้ายแรงแห่งผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องหรือผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะได้รับการ
เคารพในชีวิตส่วนตัวของตน และศาลยอมรับว่ารัฐมีอ่านาจอย่างกว้างขวางในการใช้ดุลพินิจเพื่อ
พิจารณาเกี่ยวกับความจ่าเป็นเพื่อความปลอดภัยและมาตรการที่จ่าเป็นที่จะด่าเนินการเพื่อคุ้มครอง
ความปลอดภัยนั้น ด้วยเหตุผลประการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ศาลจึงวินิจฉัยว่าในกรณีดังกล่าวไม่เป็นการ
ฝ่าฝืนหรือละเมิดข้อก่าหนดข้อ ๘ ของอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ
ขั้นพื้นฐาน
(๒) กรณีการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการกระท าความผิดทางอาญาของบุคคล
(la conservation de dossiers relatifs à des affaires pénales)
แม้ว่าคณะกรรมการแห่งยุโรปด้านสิทธิมนุษยชนจะได้เคยวินิจฉัยว่าสิทธิใน
ชีวิตส่วนตัวตามข้อ ๘ ของอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
จะครอบคลุมถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย (la protection des données à caractère personnel)
ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ในคดีนี้ คณะกรรมการเห็นว่าการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการกระท่าความผิดทาง
อาญาของบุคคล ซึ่งประกอบด้วยเอกสาร ภาพถ่าย และลายพิมพ์นิ้วมือ (des empreintes digitales)
ของบุคคลที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเป็นไปตามเงื่อนไขที่ก่าหนดไว้ในวรรคสองของข้อ ๘ ของอนุสัญญา
แห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน เนื่องจากการด่าเนินการดังกล่าว
เป็นการจ่าเป็นในสังคมประชาธิปไตยต่อวัตถุประสงค์เพื่อการป้องกันการกระท่าความผิดทางอาญา
๗๐
และเพี่อความปลอดภัยของประชาชน (la sécurité publique)
๒.๕.๒ คดีเกี่ยวกับการแทรกแซงสิทธิในชีวิตส่วนตัวเกี่ยวกับที่พักอาศัย
(๑) กรณีการตรวจค้นสิ่งของในยานพาหนะ (la fouille par la police d’un
๗๑
véhicule)
กรณีมีการร้องเรียนว่าเจ้าหน้าที่ต่ารวจท่าการตรวจค้นสิ่งของในรถยนต์ของ
บุคคลหนึ่งซึ่งจอดไว้บนทางสาธารณะ (la voie publique) เป็นการด่าเนินการอันเป็นการแทรกแซง
สิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับที่พักอาศัยและชีวิตส่วนตัวของบุคคล จึงเป็นการ
แทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (une ingérence illégitime)
๗๐
Req. n° 1307/61, X. c/ République fédérale d’Allemagne, Décision du 4 octobre 1962, Ann. de
la Convention européenne des droits de l’homme, 1962, p. 231.
๗๑ Req. n° 5488/72, X. c/ la Belgique, Décision du 30 mai 1974, Ann. de la Convention européenne
des droits de l’homme, 1974, p. 223.