Page 70 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 70
๕๕
- การตรวจค้นส านักงานทนายความ (la perquisition à un cabinet
d’avocat)
ศาลได้วินิจฉัยว่าการตรวจค้นส่านักงานทนายความโดยองค์กรของรัฐ
เป็นการกระท่าอันเป็นการแทรกแซงการใช้สิทธิในชีวิตส่วนตัว สิทธิในชีวิตส่วนตัวเกี่ยวกับที่พักอาศัย
๗๔
และสิทธิในชีวิตส่วนตัวเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ศาลยอมรับว่าการด่าเนินการตามกรณีร้องเรียนนี้
มีฐานทางกฎหมายรองรับ คือ มาตรา ๑๐๓ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ
มีวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อค้นหาผู้กระท่าความผิดทางอาญาและเพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลอื่น
แต่อย่างไรก็ตาม การด่าเนินการดังกล่าวมิอาจถือได้ว่าเป็นสิ่งจ่าเป็นในสังคมประชาธิปไตยเพื่อการบรรลุ
วัตถุประสงค์ที่มุ่งหมายนั้น การด่าเนินการนั้นมิได้สัดส่วนกับการบรรลุวัตถุประสงค์ที่มุ่งหมายเนื่องจาก
หมายค้นตามกรณีอนุญาตให้ท่าการค้นและยึดเอกสารต่างๆ ได้โดยไม่มีข้อจ่ากัด (sans limitation)
การตรวจค้นส่านักงานทนายความในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีดังกล่าวมิได้มีหลักประกัน (ganrantie)
เป็นการเฉพาะแต่ประการใด เช่น ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ผู้สังเกตการณ์อิสระ (un observateur
๗๕
indépendant) หรือการขอหมายค้นจากศาล (un mandat judiciaire pour autoriser les perquisitions)
การตรวจค้นดังกล่าวจึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อความลับในทางวิชาชีพทนายความ (le secret
professionnel de l’avocat) โดยมิได้สัดส่วนกับวัตถุประสงค์ที่มุ่งหมายแต่อย่างใด
จากค่าวินิจฉัยดังกล่าว จะเห็นได้ว่าส่าหรับศาลแห่งยุโรปด้านสิทธิ
มนุษยชน ค่าว่า “ชีวิตส่วนตัว” หมายความรวมถึงกิจกรรมในทางวิชาชีพหรือในทางพาณิชยกรรม
(les activités professionnelles et commerciales) ค่าว่า “ที่พักอาศัย ” หมายความรวมถึงสถาน
ประกอบวิชาชีพ (les locaux professionnels) และค่าว่า “จดหมาย” หมายความรวมถึง จดหมาย
โต้ตอบในการประกอบวิชาชีพ (la correspondance professionnelle) ด้วย
๒.๕.๓ คดีเกี่ยวกับการแทรกแซงสิทธิในชีวิตส่วนตัวเกี่ยวกับการติดต่อทางจดหมาย
(๑) กรณีการดักฟังข้อมูลความลับทางโทรศัพท์ (le secret de la
correspondance téléphonique)
ค่าวินิจฉัยของศาลแห่งยุโรปเกี่ยวกับการร้องเรียนการกระท่าขององค์กร
ของรัฐในการดักฟังข้อมูลทางโทรศัพท์อันเป็นการแทรกแซงสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลเกี่ยวกับการ
ติดต่อสื่อสารปรากฏอยู่ในสามคดีที่น่าสนใจ ได้แก่ ค่าวินิจฉัยในคดี Klass เมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๑๙๗๘
๗๔
Niemietw c/ Allemagne, 16 décembre 1992, Volume n° 251 B de la série A, § 29, 30, 31, 32 V. F.
SUDRE, J.C.P., 1993, I, 3564, n° 18.
๗๕ Affaire Crémieux c/ France, volume n° 256 B de la série A des publications imprimées de la
Cour; Affaire Funke c/ France, vol. n° 256 A.