Page 65 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 65

๕๐



                                                                                                  ๖๘
                                 ๒.๔.๒ กฎหมายเกี่ยวกับการรับรองและคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของผู้ต้องขัง
                                        สามารถสรุปหลักเกี่ยวกับการรับรองและคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของผู้ที่ถูกจ่ากัด

                   อิสรภาพตามรัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกาและแนวทางค่าพิพากษาของศาลสูงที่ส่าคัญได้ ดังนี้
                                         (๑) สภาพของการควบคุมในเรือนจ่า

                                         สภาพของเรือนจ่าเป็นองค์ประกอบส่าคัญในการด่ารงชีพของผู้ต้องขัง

                   ซึ่งมาตรา ๘ แห่งรัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้บัญญัติห้ามการลงโทษที่ทารุณโหดร้าย
                   ผิดปกติ รวมทั้งการอ้างบทแก้ไข รัฐธรรมนูญมาตรา ๑๔ ประกอบด้วย ประเด็นที่นักโทษฟ้อง

                   เจ้าพนักงานและเรือนจ่ามากที่สุด ได้แก่ การกระท่าการทารุณกรรมทางร่างกาย สภาพของห้องขังเดี่ยว

                   การลงโทษที่ปราศจากเหตุผลที่เหมาะสม นักโทษถูกท่าร้ายร่างกายจากนักโทษอื่นโดยเจ้าหน้าที่มิได้
                   คุ้มครอง และการไม่ได้รับการรักษาพยาบาล

                                         ในปัจจุบันหลักประกันตามมาตรา ๘ มีขอบเขตครอบคลุมการปฏิบัติต่อ
                   ผู้ต้องขัง ดังนี้

                                         (ก) การลงโทษอาจถือได้ว่าทารุณโหดร้ายและผิดปกติถ้าการกระท่านั้น

                   ไร้มนุษยธรรมในตัวเองหรือ “กระทบกระเทือนต่อจิตส่านึก” ตามความหมายที่บัญญัติไว้ในบทแก้ไข
                   รัฐธรรมนูญ มาตรา ๘

                                         (ข) การลงโทษอาจถือได้ว่าทารุณโหดร้ายและผิดปกติ และฝ่าฝืนบทแก้ไข
                   มาตรา ๘ ได้ ถ้าการลงโทษนั้นไม่ได้สัดส่วนกับความผิดที่ถูกลงโทษ หรือนัยหนึ่งการลงโทษนั้นรุนแรงเกิน

                   กว่าความผิดที่ได้กระท่า

                                         (ค) ศาลอาจจะเห็นว่าการใช้มาตรการลงโทษบางประการฝ่าฝืน ก็สามารถ
                   ทบทวนแก้ไขได้ ถ้าการลงโทษนั้นรุนแรงเกินความจ่าเป็นในการบรรลุเป้าหมายของงานราชทัณฑ์ที่ถูกต้อง

                   ตามท่านองคลองธรรม

                                         ศาลอุทธรณ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา (Circuit  Court)  ได้มีค่าพิพากษา
                   ในคดีส่าคัญ ๒ คดี เกี่ยวกับการลงโทษทางร่างกายต่อนักโทษ ในคดี Talley V. Steaphens, 1965 และ

                   Jackson V.Bishop, 1968 ซึ่งทั้งสองคดีศาลได้พิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญในการเฆี่ยนนักโทษใน
                   เรือนจ่ารวมทั้งการใช้เชือกหนังมัดนักโทษอันเป็นการลงโทษทางวินัยในคดีแรก ศาลอุทธรณ์ได้วางข้อข่า

                   กัดการลงโทษทางร่างกาย ส่วนในคดีหลังศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาให้การเฆี่ยนนักโทษ เป็นการขัดต่อ

                   บทบัญญัติการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา ๘ โดยศาลให้เหตุผลว่า การลงโทษทางกาย ไม่อาจควบคุมการใช้
                   อ่านาจโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ ตราบใดที่ยังอนุญาตให้ใช้วิธีการดังกล่าวในการลงโทษนักโทษ

                   ในเรือนจ่า







                          ๖๘
                             โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิผู้ต้องหา จ่าเลย และผู้ต้องโทษในคดีอาญา ,อ้างแล้วเชิงอรรถที่ ๑๖
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70