Page 63 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 63
๔๘
(๒) การรบกวนแทรกแซงความสันโดษ หรือกิจกรรมส่วนตัว (Intrusion) ได้แก่
การล่วงเกินขอบเขตส่วนตัวของโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือเข้าไปยุ่งในกิจกรรมส่วนตัวของเขาหรือ
เป็นการบุกรุกทางกายภาพซึ่งสภาวะความสันโดษของผู้อื่น เช่นการบุกรุกเข้าไปในบ้าน ที่พัก การเข้าค้น
ถุงสินค้าของผู้อื่นโดยมิชอบในห้างสรรพสินค้า โดยการกระท่าลักษณะดังกล่าวต้องเป็นการกระท่าที่มี
ลักษณะทางกายภาพ นอกจากนี้การบุกรุกยังขยายรวมถึงการดักฟังบทสนทนาส่วนตัวของผู้อื่นทั้งโดย
วิธีการลอบต่อสายโทรศัพท์เพื่อดักฟังการสนทนา การใช้ไมโครโฟนขยายเสียง และรวมถึงการลอบมอง
ผ่านเข้าไปในหน้าต่างบ้านของผู้อื่น การโทรศัพท์ก่อกวน โดยการกระท่าดังกล่าวข้างต้นต้องเป็นการ
กระท่าต่อทรัพย์ส่วนบุคคล ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องเรียนเมื่อการให้ปากค่านั้นถูกบันทึก หรือเมื่อ
ต่ารวจปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในการบันทึกภาพ พิมพ์ลายนิ้วมือ หรือกระท่าการอื่นใดโดยชอบด้วย
กฎหมายซึ่งก็รวมถึงการกระท่าการใดๆ ดังกล่าวข้างต้นในที่สาธารณะก็ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดในส่วน
ของการบุกรุกซึ่งสิทธิในความเป็นส่วนตัว แต่มีบางกรณีที่แม้โจทก์จะอยู่ในสถานที่สาธารณะแต่เมื่อมีการ
บุกรุกซึ่งสิทธิในความเป็นส่วนตัวของโจทก์ก็ถือเป็นความผิดฐานละเมิดได้ ตัวอย่างเช่น กรณีที่ผู้หญิงถูก
บันทึกภาพขณะที่กระโปรงของเธอถูกลมพัดเปิดขึ้นกรณีนี้โจทก์มีสิทธิร้องทุกข์ต่อศาลได้ (คดี Daily
Times Democrat v. Grahan, 1964)
(๓) การเปิดเผยเรื่องราวส่วนตัว (Public Disclosure of Private Facts)
เป็นการกระท่าผิดโดยการน่าข้อมูลส่วนบุคคลของโจทก์ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องจริง และการเปิดเผยนั้น
ไม่ตกเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทน่าไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่น เช่น คดีระหว่าง Brents v.Morgan ในปี
ค.ศ. ๑๙๒๗ ข้อเท็จจริงคือจ่าเลยน่าหนังสือแจ้งเตือนการช่าระหนี้ไปติดที่หน้าต่างโรงรถของโจทก์
ประกาศให้บุคคลภายนอกได้ทราบว่าจ่าเลยให้โจทก์ยืมเงินและโจทก์ไม่ยอมคืนจ่าเลย ดังนั้น
โดยองค์ประกอบของความผิดนั้นการเปิดเผยข้อเท็จจริงส่วนตัวของผู้อื่นจะถือเป็นการกระท่าละเมิด
ต่อเจ้าของเรื่องเมื่อการเปิดเผยข้อเท็จจริงส่วนบุคคลนั้นต้องเป็นการเปิดเผยไปสู่สาธารณะ ไม่ใช่เป็นการ
เล่าสู่กันฟังส่วนบุคคล หรือเปิดเผยให้รู้กันเฉพาะกลุ่มเล็ก ดังนั้น การลงหนังสือพิมพ์ว่าผู้ใดไม่ยอม
จ่ายหนี้หรือการปิดหนังสือเตือนไว้บนกระจกโรงรถฝั่งที่ติดถนนจึงเป็นการเปิดเผยข้อเท็จจริงส่วนตัวแล้ว
(๔) การไขข่าวให้แพร่หลายในเรื่องที่ไม่เป็นความจริง (False light in the
public eye) ได้แก่ การท่าให้โจทก์เสื่อมเสียในสายตาของประชาชน โดยการใช้ชื่อโจทก์ หรือภาพแสดง
ถึงโจทก์ในเรื่องที่โจทก์เองก็ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย เช่น การน่ารูปภาพของคนขับรถแท็กซี่ทั่วไปไปใช้ในการ
ประกอบเรื่องเกี่ยวกับคนขับรถแท็กซี่ที่ขี้โกงในเมือง หรือการรวมเอาชื่อของโจทก์รูปภาพและลายมือ
ของโจทก์เอาไว้ในห้องภาพคนร้ายในพิพิธภัณฑ์ที่ถูกตัดสินว่ากระท่าความผิดอาญา ทั้งที่ไม่มีข้อเท็จจริง
ว่าโจทก์เคยถูกตัดสินว่ากระท่าความผิดอาญา เป็นต้น ซึ่งการกระท่าละเมิดในฐานนี้ไม่จ่าเป็นต้องผิดใน
ฐานหมิ่นประมาทควบคู่เสมอไป
หลักการทั้ง ๔ ข้อนี้ ได้พัฒนาและบัญญัติเป็นกฎหมายลักษณะละเมิด
(Restatement (Second) of Tort) ในมาตรา 652A – 652D24 มีผลใช้บังคับในประเทศสหรัฐอเมริกา
จนถึงปัจจุบัน