Page 64 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 64
๔๙
แนวทางในการพิจารณาว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่นั้นประเทศ
๖๗
สหรัฐอเมริกาได้ก่าหนดไว้ใน Restatement of Torts §§ 652 A - I ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
(๑) การใช้ชื่อ/รูปถ่ายของบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ทางการค้าของตน
(Appropriation) ได้แก่
- การแต่งตัวหรือท่าบุคลิกให้เหมือนบุคคลนั้น (Look-alikes)
- การเลียนแบบเสียงให้เหมือนบุคคลนั้น (Sound-alikes) ยกเว้นเป็น
กรณีที่พื่อให้ข้อมูลและเสนอข่าว
- ได้รับความยินยอมจากบุคคลนั้นเป็นลายลักษณ์อักษร
(๒) การรุกล้่าทางร่างกายของบุคคลอื่นในการที่ผู้นั้นประสงค์จะอยู่ตามล่าพัง
(Intrusion) เช่น การดักฟังพูดโทรศัพท์ การใช้กล้องเลนส์ซูมระยะไกลเพื่อถ่ายภาพ การแอบซ่อน
ไมโครโฟนเพื่ออัดเทปการสนทนา ฯลฯ
ข้อสังเกต ในที่สาธารณะไม่ถือว่ามีสิทธิความเป็นส่วนตัว (No Privacy in
Public) ดังนั้น การถูกถ่ายภาพในงานคอนเสิร์ตจึงไม่ใช่การรุกล้่าความเป็นส่วนตัวเพราะเป็นสถานที่ที่
คนทั่วไปสามารถพบเห็นได้อย่างเสรี
(๓) การตีพิมพ์เรื่องราวส่วนตัวของบุคคลอื่นในลักษณะเกินเลยความพอดีหรือ
เป็นการล่วงละเมิดต่อการด่าเนินชีวิตปกติของบุคคลนั้น (Publication of Private Information) หมายถึง
- เป็นการตีพิมพ์ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
- การเปิดเผยดังกล่าวมีลักษณะล่วงละเมิดในมุมมองของบุคคลทั่วไป
- ข้อมูลดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนตามกฎหมาย
(๔) การเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นเท็จต่อสาธารณะ (False Light)
หมายถึง การเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณชนโดยท่าให้ผู้อื่นได้รับความเสื่อมเสีย โดยมีองค์ประกอบดังนี้
- เป็นการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นเท็จ
- ข้อความอันเป็นเท็จนั้นก่อให้เกิดความเสียหายในมุมมองของบุคคลทั่วไป
- ผู้เผยแพร่มีเจตนาทุจริตในขณะกล่าวหาบุคคลอื่น
๖๗ บุญสิทธิ์ บุญโพธิ์., สื่อมวลชนกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล,วารสารนักบริหาร ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๑
(ม.ค.- มี.ค. ๒๕๕๓) หน้า ๘๖-๘๘