Page 62 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 62

๔๗


                                         ๔. สิทธิในชีวิตส่วนตัวย่อมระงับไปเมื่อมีการเผยแพร่ข้อเท็จจริงโดยตัวผู้นั้นเอง

                   หรือโดยความยินยอมของผู้นั้น
                                         อย่างไรก็ตาม  การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิส่วนบุคคลนั้นจะอ้าง

                   เหตุว่าข้อความที่เผยแพร่นั้นเป็นความจริงเพื่อไม่ต้องรับผิดนั้นมิได้  แม้ข้อความนั้นมิได้บิดเบือนต่อ

                   ความเป็นจริง แต่ก่อความเสียหายต่อความรู้สึกของเอกชนก็เป็นการละเมิดต่อสิทธินี้แล้ว
                                         บทความดังกล่าวถือได้ว่าเป็นปัจจัยส่าคัญที่กระตุ้นให้มีการรับรองสิทธิส่วน

                   บุคคลและบทความนี้ได้รับการยกย่องจากนักนิติศาสตร์ว่าเป็นบทความที่มีอิทธิพลมากที่สุดเท่าที่เคย
                   เขียนกันมา

                                         ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๐๓ มลรัฐนิวยอร์ค ได้ออกกฎหมายรับรองสิทธิส่วนบุคคล
                   (ปัจจุบันคือ New York Civil Rights Law 1921 มาตรา ๕๐-๕๑) ซึ่งถือเป็นกฎหมายฉบับแรกที่รับรอง

                   สิทธิส่วนบุคคลของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งบัญญัติว่า “การใช้ชื่อ รูปภาพ หรือภาพถ่ายของบุคคลอื่น

                   เพื่อวัตถุประสงค์ในทางการค้าหรือการโฆษณาที่เขามิได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือเป็นความผิดทาง
                   อาญาและเป็นการละเมิด” ต่อมา มลรัฐต่างๆ เกือบทุกมลรัฐก็ได้ให้การรับรองสิทธิส่วนบุคคล โดยตรา

                   เป็นกฎหมายของมลรัฐ และให้ความคุ้มครอง “สิทธิส่วนบุคคล” ว่าหมายถึง สิทธิที่จะมิให้มีการน่า

                   บุคลิกภาพของบุคคลไปใช้แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ มิให้มีการโฆษณาเรื่องราวส่วนตัวอันสาธารณะ
                   ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยชอบ หรือมิให้มีการก้าวล่วงโดยมิชอบต่อกิจกรรมส่วนตัวของบุคคลในลักษณะ

                   รุนแรง ก่อให้เกิดความตกใจ หรืออับอายใจ หรือเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะอยู่ตามล่าพัง และด่าเนินชีวิต

                   อย่างสันโดษ
                                         นอกจากนี้ยังมีบทความทางวิชาการที่ก่อให้เกิดอิทธิพลในการพัฒนาหลักใน

                   เรื่องการละเมิดความเป็นส่วนตัวอย่างมาก ได้แก่ บทความของ William L. Prosser ในปี ๑๙๖๐ ได้สร้าง
                   หลักการในเรื่องการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวขึ้น โดยแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ดังนี้

                                         (๑) การใช้ชื่อหรือภาพของบุคคลเพื่อผลประโยชน์โดยไม่ได้รับความยินยอม

                   (appropriation) ตัวอย่างคดีที่ส่าคัญได้แก่ คดีระหว่าง Rochester และ Roberson ศาลมลรัฐนิวยอร์ก
                   ได้ตัดสินให้จ่าเลยชดใช้ค่าเสียหายให้กับโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์นั้นถูกละเมิดด้วยการถูกน่าภาพไปใช้เพื่อ

                   ประโยชน์ในการโฆษณาสินค้าของจ่าเลย หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดในทางที่เป็นการส่งเสริมการขาย
                   ของจ่าเลยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของภาพดังกล่าว ข้อส่าคัญองค์ประกอบในการกระท่า

                   ผิดคือ การที่จ่าเลยได้ใช้ชื่อซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของผู้อื่นนั้นเพื่อให้ตนเองได้รับประโยชน์ เช่น การ

                   ปลอมตัวเป็นผู้อื่นเพื่อให้ได้รับมาซึ่งข้อมูลความลับของผู้นั้น (คดี Goodyear Tired Rubber Co. v.
                   Vandergriff, 1936) หรือ โดยแสดงตัวเป็นภรรยาของโจทก์เพื่อให้ได้ประโยชน์ทางการค้าแก่ตน (คดี

                   Burns v. Stevens, 1926) เหล่านี้ล้วนเป็นการกระท่าผิดละเมิดในฐานนี้ทั้งสิ้น แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงการใช้ชื่อ

                   ของโจทก์ในนวนิยาย หรือชื่อของบริษัท หรือการน่าภาพอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง การน่าเอาภาพบ้าน
                   รถยนต์ หรือสัตว์เลี้ยงของผู้อื่นมาใช้เพื่อประโยชน์ของตน เนื่องจากไม่ถือว่ามีความชัดเจนเพียงพอในการ

                   จะท่าให้ผู้อื่นเข้าใจได้ว่าเป็นผู้ใด
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67