Page 61 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 61
๔๖
มาตรฐานค่าว่า “ไม่สมเหตุสมผล” (Unreasonable) อย่างเคร่งครัด ซึ่งสามารถสรุปหลักเกี่ยวกับการค้น
๖๕
หรือการยึด (Search and seizure) ได้ ดังนี้
การตีความค่าว่า “การค้นหรือการยึด” นั้น ศาลสูงสุดได้ตีความตาม
เจตนารมณ์โดยมุ่งเน้นถึงสิทธิและผลประโยชน์ที่รัฐธรรมนูญมาตรานี้ต้องการจะคุ้มครอง
(๓) มาตรา ๑๔ (Fourteenth Amendment) (1868) “ข้อ ๑ บุคคลทุกคน
ที่เกิดหรือแปลงชาติในสหรัฐ และอยู่ในบังคับของกฎหมายสหรัฐของมลรัฐที่มีภูมิล่าเนาอยู่มลรัฐใดจะ
ออกกฎหมายหรือบังคับใช้กฎหมายที่เป็นการตัดทอนเอกสิทธิ หรือความคุ้มกันที่พลเมืองของสหรัฐจะพึง
ได้รับไม่ได้ หรือมลรัฐใดจะรอนสิทธิในชีวิต เสรีภาพ หรือทรัพย์สินของบุคคล โดยไม่ชอบด้วยกระบวน
ความแห่งกฎหมาย หรือจะปฏิเสธไม่ให้บุคคลใดอยู่ที่อยู่ในเขตอ่านาจให้ได้รับความคุ้มครองตาม
กฎหมายโดยเท่าเทียมกันนั้นกระท่ามิได้”
ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๘๙๐ เมื่อเทคโนโลยีและสังคมเจริญขึ้น ก็ปรากฏว่ามีการ
ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลโดยสื่อมวลชน (หนังสือพิมพ์)
เช่น การน่าเรื่องชู้สาวมาลงตีพิมพ์เพื่อหวังเพิ่มยอดขายโดยไม่มีการค่านึงถึงจรรยาบรรณของ
นักหนังสือพิมพ์ จากสภาพปัญหาดังกล่าวท่าให้สองทนายความชาวสหรัฐอเมริกา คือ แซมมวล ดี วอแรน
(Samuel D. Warren) และหลุยส์ ดี แบรนไดส์ (Louis D. Brandies) ได้เขียนบทความเรื่อง “The
๖๖
Right to Privacy” ลงตีพิมพ์ในวารสาร Harvard Law Review โดยบทความดังกล่าวมีสาระส่าคัญ
เป็นการกล่าวถึงหลักการที่บุคคลต้องได้รับการคุ้มครองโดยบริบูรณ์ในร่างกายและทรัพย์สิน ซึ่งแต่เดิม
กฎหมายคอมมอนลอว์บังคับให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเฉพาะการละเมิดต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน
เท่านั้น แต่เมื่อสังคมมีความเปลี่ยนแปลงไปท่าให้ต้องตีความลักษณะและขอบเขตแห่งการคุ้มครอง
ซึ่งสิทธินั้นๆ กันใหม่ โดยจะต้องตีความขยายขอบเขตของสิทธิดังกล่าวให้มีความหมายถึงสิทธิที่จะมี
ความสุขในชีวิต หรืออีกนัยหนึ่ง คือ สิทธิที่จะอยู่ตามล่าพังอย่างสันโดษ ปราศจากการเข้ารบกวน
โดยสื่อมวลชนนั่นเอง แต่ผู้เขียนทั้งสองยอมรับว่า “สิทธิส่วนบุคคล” มีข้อจ่ากัดบางประการกล่าวคือ
๑. ต้องไม่ขัดขวางต่อการเผยแพร่เรื่องราวอันเกี่ยวด้วยประโยชน์สาธารณะ
๒. ไม่คุ้มครองไปถึงบุคคลซึ่งได้แสดงเจตนาสละสิทธิที่จะมีความเป็นอยู่
โดยรอดพ้นจากการรับรู้ของสาธารณะ
๓. ไม่ขัดขวางต่อการสื่อสารเรื่องราวใดๆ ซึ่งได้รับเอกสิทธิ์ภายใต้กฎหมาย
เกี่ยวกับการหมิ่นประมาท แม้เรื่องราวนั้นจะเป็นเรื่องส่วนตัวก็ตาม
โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิของผ้ต้องหา จ่าเลย และผู้ต้องโทษในคดีอาญา โดย รองศาสตราจารย์ณรงค์
ใจหาญ และคณะ,เสนอต่อ ส่านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา,พ.ศ. ๒๕๔๐
๖๖ วิทยานิพนธ์เรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการเผยแพร่ข่าวผู้เสียหายในความผิดเกี่ยวกับเพศ
นางสาวศศิภา เรืองฤทธิ์ชาญกุล, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,๒๕๕๓