Page 60 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 60
๔๕
๒.๔ สิทธิในความเป็นส่วนตัว และการรับรองและคุ้มครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
ประเทศสหรัฐอเมริกาถือเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพและยึดถือแนวความคิดเรื่องสิทธิ
ตามธรรมชาติว่ามนุษย์ทั้งหลายเกิดมาเท่าเทียมกัน มนุษย์มีสิทธิบางประการที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด
จนกระทั่งถึงแก่ความตาย สิทธิดังกล่าว ได้แก่ สิทธิในชีวิต เสรีภาพในร่างกายสิทธิในทรัพย์สิน และความ
เสมอภาคซึ่งเป็นสิทธิที่ไม่สามารถโอนให้แก่กันได้ และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ โดยหลักประกันส่าคัญที่สุด
ในการคุ้มครองสิทธิของบุคคลของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ รัฐธรรมนูญโดยเฉพาะฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
(Amendments) มาตรา ๑ – ๑๐ หรือ ที่เรียกว่า Bill of Right แต่การศึกษาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
แต่เพียงอย่างเดียวนั้น อาจไม่สามารถทราบถึงขอบเขตสิทธิที่ได้รับการคุ้มครองและแนวปฏิบัติที่แท้จริงได้
จึงจะต้องศึกษาแนวทางค่าพิพากษาของศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกา (U.S. Supreme court)
ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอ่านาจตีความรัฐธรรมนูญด้วย
โดยในการศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการรับรองและคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของประเทศ
สหรัฐอเมริกานั้น ได้แบ่งหัวข้อการศึกษาออกเป็นสองหัวข้อใหญ่ ได้แก่ (๒.๔.๑) กฎหมายเกี่ยวกับการ
รับรองและคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของบุคคลทั่วไปของประเทศสหรัฐอเมริกา และ (๒.๔.๒) กฎหมาย
เกี่ยวกับการรับรองและคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของผู้ต้องขังของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
๒.๔.๑ กฎหมายเกี่ยวกับการรับรองและคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของบุคคลทั่วไป
กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาได้บัญญัติรับรองและคุ้มครองสิทธิ
ส่วนบุคคลของบุคคลทั่วไปไว้ในบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาฉบับต่างๆ ดังนี้
(๑) บทบัญญัติแห่งมาตรา ๑ (First Amendment) (๑๙๗๑) ก่าหนดว่า“รัฐสภา
จะบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการศาสนาหรือห้ามการปฏิบัติการตามพิธีกรรมทางศาสนาโดยเสรี
หรือตัดทอนเสรีภาพของประชาชนในการพูดหรือการพิมพ์โฆษณาหรือสิทธิของประชาชนที่จะชุมนุมกัน
โดยสงบและที่จะยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ต่อรัฐบาลไม่ได้
(๒) บทบัญญัติมาตรา ๔ (Fourth Amendment) (๑๗๙๑) “สิทธิของประชาชน
ที่จะมีความปลอดภัยในร่างกาย เคหสถาน เอกสารและทรัพย์สิ่งของจากการถูกตรวจค้นหรือยึดโดย
ไม่มีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายจะกระท่าไม่ได้ และจะออกกฎหมายเพื่อกระท่าการดังกล่าวมิได้ เว้นแต่มี
เหตุผลที่ควรเชื่อถือซึ่งได้รับการยืนยันด้วยค่าสาบานหรือค่าปฏิญาณ และจะต้องระบุสถานที่ที่จะค้น
หรือบุคคลที่จะถูกจับกุมหรือสิ่งที่จะยึดไว้ในหมายนั้นอย่างเฉพาะเจาะจง”
จากบทบัญญัติดังกล่าวศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาได้อาศัยอ่านาจในการเป็น
ผู้ตีความรัฐธรรมนูญโดยตีความค่าว่า “การค้นและการยึด” ในความหมายอย่างกว้างและได้ก่าหนด