Page 43 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 43
๒๘
ในส่วนที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของเอกชน ได้แก่
ข้อยกเว้นแห่งสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น (la protection
des droits et libertés d’autrui) อันเป็นการชั่งน้่าหนัก (โดยนักกฎหมายหรือผู้พิพากษาแล้วแต่กรณี)
ระหว่างประโยชน์ของบุคคลหนึ่งในการคุ้มครองชีวิตส่วนตัวของตนกับประโยชน์ของอีกบุคคลหนึ่ง
ในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในเรื่องหนึ่งเรื่องใด ซึ่งประโยชน์ของบุคคลหลังนี้จะได้รับการคุ้มครอง
มากกว่า ตัวอย่างเช่น กรณีการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเจ้าพนักงานศาล (un huissier) เกี่ยวกับกรณี
การประพฤติไม่ซื่อสัตย์ต่อคู่สมรส (les constats d’adultère) ซึ่งอนุญาตโดยองค์กรตุลาการตามค่าร้อง
ขอของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง กรณีนี้ย่อมก่อให้เกิดการขัดแย้งกัน (un conflit) ระหว่างสิทธิของคู่สมรสฝ่าย
ผู้กล่าวหาที่จะพิสูจน์ถึงความไม่ซื่อสัตย์ของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง (une infidélité conjugale) ซึ่งเป็น
สาเหตุของการหย่า และสิทธิในชีวิตส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายที่ถูกกล่าวหา ตลอดจนบุคคลอื่นที่มีส่วน
เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวด้วย การขัดแย้งกันนั้นมิเพียงแต่เกี่ยวข้องกับชีวิตส่วนตัวของบุคคล หากแต่ยัง
เกี่ยวข้องถึงความลับในชีวิตส่วนตัวอีกด้วย ศาลได้พิจารณาว่าการด่าเนินการดังกล่าวสามารถกระท่าได้
ตามค่าสั่งตามค่าร้องขอที่ออกโดยประธานศาลจังหวัด (une ordonnance sur requête du président
du tribunal de grande instance) และด่าเนินการโดยชอบ โดยนัยดังกล่าว ความชอบด้วยกฎหมายของ
การตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวอยู่ภายใต้เงื่อนไขสองประการ คือ ประการที่หนึ่ง การตรวจสอบ
ข้อเท็จจริงจะต้องได้รับอนุญาตโดยค่าสั่งที่ประธานศาลจังหวัดออกให้ตามค่าร้องขอของคู่กรณีฝ่ายหนึ่ง
ประธานศาลจังหวัดจะท่าการตรวจสอบว่าค่าร้องขอนั้นเข้าข้อสมมติฐานที่ร้ายแรงและชัดแจ้งเกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ในการเป็นชู้ที่กล่าวหา (les relations adultère alléguées) และท่าให้สามารถตรวจสอบ
ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นได้ ประธานศาลจังหวัดสามารถอนุญาตให้เจ้าพนักงานศาลมีช่างกุญแจ
(un serrurier) ติดตามไปด้วยเพื่อเปิดห้องพักของผู้กระท่าการเช่นนั้น หรือห้องพักของผู้สนับสนุนการ
กระท่านั้นได้ (แต่มิใช่ประตูทางเข้าร่วมกันของอาคารที่พัก) อย่างไรก็ตาม ค่าสั่งเช่นนั้นย่อมไม่จ่าเป็นแก่
การตรวจสอบข้อเท็จจริงของเจ้าพนักงานศาลเมื่อเป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงในที่พักอาศัยของคู่สมรส
นั้นเอง และประการที่สอง การตรวจสอบข้อเท็จจริงของเจ้าพนักงานศาลจะต้องกระท่าโดยชอบด้วย
กล่าวคือ จะต้องกระท่าตามกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับแก่การด่าเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเจ้าพนักงานศาล
นั้นด้วย (les règles générales des constats d’huissier) เจ้าพนักงานศาลจึงมิอาจเข้าไปในสถานที่
ส่วนบุคคลโดยใช้ก่าลังเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระท่าการเป็นชู้ หากแต่จะต้องขอความ
ช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ (la force publique) และจะกระท่าการใดๆ อันเป็นการรบกวนการพักอาศัย
ของบุคคลอื่นมิได้