Page 40 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 40
๒๕
ข้างต้น และก่อให้เกิด “หน้าที่ตามกฎหมาย” (le devoir juridique) แก่บุคคลทุกคนที่จะต้อง “ไม่
๓๕
เปิดเผย” ชีวิตส่วนตัวของบุคคลอื่น และจะต้อง “ไม่เข้าไปแทรกแซง” ชีวิตส่วนตัวของบุคคลอื่นด้วย
ข. สถานะหรือคุณค่าทางกฎหมายของสิทธิในชีวิตส่วนตัวที่ได้รับ
ความคุ้มครอง
การรับรองและคุ้มครองสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลตามบทบัญญัติ
มาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งของสาธารณรัฐฝรั่งเศสย่อมน่ามาซึ่งหลักการต้องห้ามการกระท่า
การใดๆ อันเป็นการละเมิดสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นหลักการต้องห้ามกระท่า
ละเมิดสิทธิในชีวิตส่วนตัวเกี่ยวกับที่พักอาศัย (un principe de l’inviolabilité du domicile) หลักการ
ต้องห้ามกระท่าละเมิดสิทธิในชีวิตส่วนตัวเกี่ยวกับการติดต่อทางจดหมาย (un principe de l’inviolabilité
des correspondances) หลักการต้องห้ามต่างๆ ดังกล่าวได้รับการตีความจากคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
(le Conseil constitutionnel) ว่าล้วนแต่เป็นหลักการที่มี “ คุณค่าในระดับรัฐธรรมนูญ (un principe à
๓๖
valeur constitutionnelle) เลยทีเดียว โดยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้เคยวินิจฉัยไว้ในคดีหนึ่ง ว่า
มาตรา ๖๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสฉบับปี ๑๙๕๘ ก่าหนดให้องค์กรตุลาการมีหน้าที่
คุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล (la sauvegarde de la liberté individuelle) ในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะ
การห้ามการละเมิดสิทธิในชีวิตส่วนตัวเกี่ยวกับที่พักอาศัย (l’inviolabilité du domicile) ทั้งนี้ ที่พัก
อาศัยที่ได้รับความคุ้มครองในฐานแห่งสิทธิในชีวิตส่วนตัวนั้นมิได้จ่ากัดเฉพาะแต่ที่พักอาศัยตามนัย
ทางแพ่งอันได้แก่สถานที่ที่บุคคลใช้พักอาศัยเป็นประจ่า (le lieu d’habitation principale d’une
personne) หากแต่ยังหมายความรวมถึงสถานที่ส่วนบุคคล (les lieux privés) อีกด้วย
ในทางวิชาการ สิทธิในชีวิตส่วนตัวจึงเป็นสิทธิของบุคคล (droit
subjectif) หรือสิทธิเกี่ยวกับตัวบุคคล (droit de la personalité) กล่าวคือ อ่านาจของบุคคลทั้งหลายที่
จะได้รับการคุ้มครองประโยชน์ในทางจิตใจ (la protection des intérêts patrimoniaux ou moraux)
ในการโต้แย้งต่อหรือท่าให้สิ้นสุดลงซึ่งการเปิดเผยชีวิตส่วนตัวของตนและการติดตามสืบสวนชีวิตส่วนตัว
ของตนโดยบุคคลอื่น เพื่อความสงบและเสรีภาพในชีวิตส่วนตัวและชีวิตครอบครัว (la paix et la liberté
de la vie personnelle et familiale) ของตน สิทธิดังกล่าวซึ่งมีคุณค่าในระดับรัฐธรรมนูญจึงก่อให้เกิด
หน้าที่ตามกฎหมายที่บุคคลทั้งหลายที่จะต้องไม่เปิดเผยชีวิตส่วนตัวของบุคคลอื่นหรือไม่เข้าไปแทรกแซง
ในชีวิตส่วนตัวของบุคคลอื่น ในขณะเดียวกัน สิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลเป็นสิทธิของบุคคลคนนั้น
บุคคลนั้นย่อมสามารถที่จะอนุญาตให้มีการเปิดเผยเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของตนโดย
แลกเปลี่ยนกับค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินได้ (une prestation pécuniaire) ซึ่งในทางปฏิบัติ ก็มีการท่า
๓๕ P. GULPHE, Les tribunaux français gardiens de l’intimité de la vie privée, Rapport au XIVème
Congrès de l’Institut international de droit d’expression française, Montréal, 12-19 septembre 1981, Revue
juridique et politique indépendence et coopération, 1982, p. 558.
๓๖ Décision du 29 décembre 1983 n° 83-164 DC, J.O. 30 décembre 1983, p. 3873-3874; J.C.P. 1984,
II, 20158, note R. DRAGO et A. DECOCQ; D. 1985, I.R., 220, note C. GAVALDA et C. LUCAS DE LEYSSAC.