Page 39 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 39

๒๔


                   วรรคหนึ่ง ของอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานแต่อย่างใด

                   อย่างไรก็ตาม  ตามความเห็นของผู้ยกร่างมาตรา  ๙  ดังกล่าวนั้น  สิทธิในชีวิตส่วนตัวประการต่างๆ
                   ดังกล่าว ย่อมรวมอยู่ในสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลตามนัยมาตรา ๙ อยู่แล้ว

                                                แม้ว่าค่าพิพากษาของศาลแพ่งในคดีต่างๆ อันเป็นที่มาของบทบัญญัติ
                                                                      ๓๔
                   มาตรา ๙ แห่งประมวลแพ่งของสาธารณรัฐฝรั่งเศสในปัจจุบัน  จะมิได้ระบุหรือก่าหนดเนื้อหาแห่งสิทธิ
                   ในชีวิตส่วนตัวของบุคคลที่รับรองและคุ้มครองไว้อย่างชัดแจ้งว่าประกอบด้วยสิทธิย่อยๆ  ประการใดบ้าง

                   แต่อย่างไรก็ตาม  ค่าพิพากษาของศาลแพ่งในคดีต่างๆ  เหล่านั้นสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะส่าคัญสอง
                   ประการของสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองตามมาตรา  ๙ แห่งประมวล

                   กฎหมายแพ่งของสาธารณรัฐฝรั่งเศส กล่าวคือ
                                                ประการที่หนึ่ง สิทธิของบุคคลทุกคนที่จะห้ามมิให้ชีวิตส่วนตัวของตน

                   ถูกเปิดเผยโดยมิได้รับความยินยอมของตนเป็นการล่วงหน้า  ดังจะเห็นได้จากคดีหนึ่งซึ่งหลังจากที่ศาลแพ่ง

                   ได้พิพากษาว่าจดหมายลับหรือภาพของบุคคลหนึ่งจะถูกเผยแพร่ออกไปโดยมิได้รับความยินยอมของ
                   บุคคลที่เกี่ยวข้องกับความลับหรือภาพนั้นมิได้  ศาลแพ่งได้อธิบายเพิ่มเติมว่าสิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

                   ส่วนตัว (les souvenirs de la vie privée) ของบุคคลแต่ละคนเป็นทรัพย์สินทางจิตใจ  (son patrimoine

                   moral)  ของบุคคลนั้น  บุคคลใดก็ตามไม่มีสิทธิที่จะเผยแพร่สิ่งนั้นโดยมิได้รับอนุญาตโดยชัดแจ้งจาก
                   บุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นแต่อย่างใด  แม้ว่าจะมิได้กระท่าโดยมีเจตนาที่ไม่สุจริตก็ตาม  (sans  intention

                   malveillante)

                                                ประการที่สอง  สิทธิของบุคคลทุกคนที่จะห้ามมิให้เรื่องใดๆ
                   อันเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของตนถูกติดตามหรือสืบสวนโดยมิได้รับความยินยอมของตน  หากเป็นที่ยอมรับ

                   ว่าภาพของบุคคลหนึ่งที่แสดงให้เห็นชีวิตส่วนตัวของบุคคลนั้นจะถูกเปิดเผย โดยมิได้รับอนุญาตจาก
                   บุคคลนั้นเสียก่อนแล้ว  ก็จะต้องยอมรับด้วยว่าเสียงของบุคคลนั้นจะต้องไม่ถูกบันทึก  จดหมายของ

                   บุคคลนั้นจะต้องไม่ถูกเปิดอ่าน  และการเดินทางของบุคคลนั้นก็จะต้องไม่ถูกติดตามด้วยเช่นกัน

                   กล่าวโดยทั่วไป  คือ  การกระท่าใดๆ  ในชีวิตส่วนตัวของบุคคลจะต้องไม่ถูกติดตามหรือสืบสวนโดยมิได้รับ
                   อนุญาตจากบุคคลนั้นเสียก่อนนั่นเอง  ทั้งนี้  การติดตามหรือสืบสวนเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของบุคคลมิได้

                   จ่ากัดแต่เฉพาะการแทรกแซงในทางรูปธรรม (une immixtion matérielle) เท่านั้น หากแต่ยังหมายรวมถึง
                   การบันทึกค่าพูดหรือภาพของบุคคลหนึ่ง ตลอดจนการบังคับให้บุคคลหนึ่งเปิดเผยเรื่องใดๆ อันเกี่ยวกับ

                   ชีวิตส่วนตัวหรือชีวิตครอบครัวของบุคคลนั้นโดยใช้ผลประโยชน์ทางทรัพย์สินหรือจิตใจเป็นเครื่องต่อรอง

                   โดยนัยดังกล่าว  สิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองตามบทบัญญัติมาตรา  ๙
                   แห่งประมวลกฎหมายแพ่งของสาธารณรัฐฝรั่งเศส  จึงประกอบด้วยสิทธิส่าคัญสองประการดังกล่าว





                          ๓๔
                             รัฐบัญญัติฯ ลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๑๙๗๐ บัญญัติให้เพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมาย
                   แพ่งของสาธารณรัฐฝรั่งเศสขึ้นใหม่ ตามแนวค่าพิพากษาของศาลแพ่งในคดีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  กล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นการ
                   น่าเอาค่าพิพากษาของศาลแพ่งในคดีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาบัญญัติรับรองเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั่นเอง
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44