Page 42 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 42

๒๗


                   กรณีต่างๆ ดังกล่าวจะกระท่าได้โดยชอบด้วยกฎหมายก็ต่อเมื่อได้กระท่าตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ

                   ที่ก่าหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  (le Code de procédure pénale)  เท่านั้น
                   ทั้งนี้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล

                                                วัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะประการต่างๆ  ดังกล่าวข้างต้น

                   ยังมักจะเป็นเหตุผลแห่งข้อยกเว้นของหลักการห้ามกระท่าการอันเป็นการแทรกแซงหรือล่วงละเมิดสิทธิใน
                   ชีวิตส่วนตัวเกี่ยวกับการติดต่อทางจดหมาย  (le principe de l’inviolabilité des correspondances) อีกด้วย

                   อันได้แก่ กรณีการดักฟังการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ที่ด่าเนินการโดยองค์กรตุลาการ (l’autorité judiciaire)
                   เพื่อหาตัวผู้กระท่าความผิดทางอาญา หรือจากองค์กรของรัฐทางปกครอง  (la pratique administrative)  เพื่อ

                   ป้องกันการกระท่าอันอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งรัฐทั้งภายในและภายนอก  อย่างไรก็ตาม
                   การด่าเนินการดังกล่าวที่ได้รับอนุญาตจากองค์กรตุลาการนั้นถูกศาลแห่งยุโรปด้านสิทธิมนุษยชน

                   พิจารณาว่าไม่เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา  ๘  ของอนุสัญญาแห่งยุโรป  และยิ่งเป็นการไม่ชอบยี่งขึ้นใน

                   กรณีเป็นการกระท่าขององค์กรของรัฐทางปกครองการด่าเนินการดังกล่าวจะกระท่าได้ก็เฉพาะแต่เมื่อมี
                   กฎหมายบัญญัติให้กระท่าได้เท่านั้น  ความลับในการติดต่อสื่อสาร (le secret des correspondances

                   émises par la voie des télécommunications) จะต้องได้รับหลักประกันในกฎหมายและการละเมิด

                   ความลับโดยองค์กรของรัฐจะกระท่าได้ก็เฉพาะแต่เพื่อความจ่าเป็นอันเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะที่
                   กฎหมายก่าหนดไว้เท่านั้นและภายใต้ข้อจ่ากัดที่กฎหมายก่าหนดไว้เช่นกัน  กรณีข้อยกเว้นที่กฎหมาย
                                                                                           ๓๘
                   บัญญัติจึงได้แก่การดักฟังที่สั่งโดยองค์กรตุลาการหรือที่ได้รับอนุญาตจากนายกรัฐมนตรี

                                                วัตถุประสงค์เพื่อการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน  (la protection
                   de la santé publique) ก็เป็นวัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งที่มักจะเป็นข้อยกเว้นแห่งการคุ้มครองสิทธิ

                   ในชีวิตส่วนตัวของบุคคลเช่นกัน ข้อยกเว้นตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวน่ามาซึ่งหน้าที่ของบุคคลที่จะต้อง
                   แจ้ง (la déclaration obligatoire) ต่อองค์กรของรัฐด้านสาธารณสุข  (l’autorité sanitaire)  เกี่ยวกับ

                   ชื่อของบุคคลที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงบางประเภท  (la personne atteinte de certaines maladies
                               ๓๙
                   contagieuses)  ตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องก่าหนด








                          ๓๘  LOI n°91-646 du 10 juillet 1991 relative au secret des correspondances émises par la voie des
                   télécommunications, JORF n°162 du 13 juillet 1991,  page 9167.
                          ๓๙
                             Art. L. 11, Code de la santé publique
                              โรคติดต่อร้ายแรงต่างๆ มีก่าหนดไว้ใน  Décret  n° 86-770 du 10 juin 1986, J.O. 14 juin, p. 7409
                   ซึ่งรวมไปถึงโรคเอดส์ (le Sida avéré) ด้วย นอกจากนี้ กฎกระทรวงของกระทรวงสาธารณสุข Arrêté ministériel du
                   31 octobre 1988 ซึ่งออกตามความเห็นของคณะกรรมการแห่งชาติด้านข้อมูลสารสนเทศและเสรีภาพ (la C.N.I.L.)

                   ลงวันที่ ๖ กันยายน ๑๙๘๘ ได้ก่าหนดให้จัดท่าระบบข้อมูลสารสนเทศการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับโรคเอดส์ต่อ la direction
                   générale de la santé
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47