Page 38 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 38
๒๓
๒.๒.๑ มาตรการคุ้มครองตามกฎหมายทั่วไป
มาตรการคุ้มครองสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลตามกฎหมายทั่วไป ได้แก่
(๑) มาตรการคุ้มครองทางแพ่งโดยการรับรองสิทธิในชีวิตส่วนตัวและก่าหนดความรับผิดทางแพ่ง
แก่ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิทธิในชีวิตส่วนตัวของผู้เสียหาย และ (๒) มาตรการลงโทษทางอาญา
ส่าหรับการกระท่าที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคล
(๑) มาตรการคุ้มครองทางแพ่ง
มาตรการคุ้มครองทางแพ่งต่อสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคล ประกอบด้วย
มาตรการส่าคัญสองประการ ได้แก่
(ก) การรับรองและคุ้มครองสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลในประมวล
กฎหมายแพ่ง
มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งของสาธารณรัฐ
๓๒
ฝรั่งเศส ได้บัญญัติรับรองและคุ้มครองสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลไว้อย่างชัดแจ้ง ในท่านองเดียวกับ
ที่บัญญัติไว้ในข้อ ๘ วรรคหนึ่ง ของอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ
ขั้นพื้นฐานซึ่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้เข้าเป็นภาคีด้วย โดยบัญญัติว่า “บุคคลแต่ละคนมีสิทธิที่จะได้รับ
การเคารพในชีวิตส่วนตัวของตน ศาลมีอ านาจก าหนดมาตรการใดๆ ที่เหมาะสมเพื่อขัดขวางหรือท าให้
สิ้นสุดลงซึ่งการกระท าอันเป็นการละเมิดต่อความลับในชีวิตส่วนตัว เช่น การอายัด การยึดหรือการ
ด าเนินการอย่างอื่น ทั้งนี้ ไม่กระทบต่อการเยียวยาความเสียหายที่ได้รับ ...” ๓๓
อย่างไรก็ตาม สิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลที่ได้รับการรับรองและ
คุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นมีข้อพิจารณาส่าคัญสามประการ ได้แก่ สิทธิในชีวิตส่วนตัวที่ได้รับ
การรับรองและคุ้มครองนั้นมีเนื้อหาอย่างไร มีสถานะทางกฎหมายอย่างไร และมีข้อจ่ากัดสิทธิในกรณี
ใดบ้างหรือไม่
ก. เนื้อหาแห่งสิทธิในชีวิตส่วนตัวที่ได้รับความคุ้มครอง (le contenu
du droit au respect de la vie privée)
มาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งของสาธารณรัฐฝรั่งเศสบัญญัติ
รับรองและคุ้มครองสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลไว้อย่างชัดแจ้ง แต่มิได้บัญญัติถึงสิทธิในชีวิตส่วนตัว
ของบุคคลอันเกี่ยวกับชีวิตครอบครัว ที่พักอาศัย และการติดต่อทางจดหมาย ดังเช่นที่ก่าหนดไว้ในข้อ ๘
๓๒
บทบัญญัติของมาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง มีที่มาจากรัฐบัญญัติฯ ลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๑๙๗๐
เพื่อสร้างเสริมหลักประกันสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลของพลเมืองให้เข้มแข็ง (Loi du 17 juillet 1970 tendant à
renforcer la garantie des droits individuels des citoyens )
๓๓
Art. 9 C. civ. « Chacun a droit au respect de sa vie privée.
Les juges peuvent, sans préjudice de la réparation du dommage subi, prescrire toutes
mesures, telles que séquestre, saisie et autres, propres à empêcher ou faire cesser une atteinte à
l'intimité de la vie privée : ces mesures peuvent, s'il y a urgence, être ordonnées en référé. »