Page 41 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 41

๒๖


                   ข้อตกลงโดยมีค่าตอบแทน (une convention à titre onéreux) เพื่อการเผยแพร่ภาพของบุคคลหนึ่งและ

                   เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับชีวิตส่วนตัวของบุคคลนั้น โดยนัยดังกล่าว บุคคลผู้ทรงสิทธิในชีวิตส่วนตัวของตน
                   ย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะน่าชีวิตส่วนตัวของตนไปใช้ประโยชน์  (un monopole d’exploitation de

                   sa vie privée) ได้  สิทธิในความลับเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของบุคคลจึงได้แก่สิทธิเสรีภาพของบุคคลที่จะ

                   ยินยอมหรือปฏิเสธให้เปิดเผยหรือติดตามสืบสวนข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของตน  อันเป็นสิทธิเสรีภาพ
                   ในระดับรัฐธรรมนูญทั้งในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับปัจเจกชนและสิทธิเสรีภาพทางแพ่งในความสัมพันธ์
                                           ๓๗
                   ระหว่างปัจเจกชนด้วยกันเอง  การคุ้มครองสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลจึงประกอบด้วยการคุ้มครอง
                   ความลับเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว (la protection du secret de la vie privée) และการคุ้มครองเสรีภาพใน

                   ชีวิตส่วนตัว (la protection de la liberté de la vie privée) ของบุคคลนั่นเอง
                                                ค. ข้อจ ากัดสิทธิในชีวิตส่วนตัวที่ได้รับความคุ้มครอง

                                                มาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งของสาธารณรัฐฝรั่งเศสบัญญัติ

                   รับรองและคุ้มครองสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคล โดยมิได้บัญญัติข้อจ่ากัดสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคล
                   ไว้แต่อย่างใด ซึ่งแตกต่างจากข้อ ๘ ของอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ

                   ขั้นพื้นฐานที่มีบัญญัติข้อจ่ากัดสิทธิในชีวิตส่วนตัวไว้ในวรรคสองดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น อย่างไรก็ตาม

                   เมื่อพิจารณาบทบัญญัติมาตรา ๙ ประกอบกับเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าวตามแนวคิดของข้อ  ๘
                   ของอนุสัญญาแห่งยุโรปแล้ว ย่อมตีความได้ว่าการจ่ากัดสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลจะกระท่าได้ก็เฉพาะ

                   แต่โดยบทบัญญัติของกฎหมายในระดับรัฐบัญญัติ (une loi) เท่านั้น

                                                การแทรกแซงสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลที่เกิดขึ้นมักจะเป็นกรณี
                   การติดตามหรือสืบสวนเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของบุคคลคนหนึ่งซึ่งกฎหมายหรือค่าพิพากษาของศาล

                   อนุญาตให้กระท่าได้  โดยพิจารณาตามวัตถุประสงค์ต่างๆ  ที่ก่าหนดไว้ในข้อ  ๘  ของอนุสัญญาแห่งยุโรป
                   เป็นส่าคัญ  ซึ่งได้แก่วัตถุประสงค์อันเกี่ยวด้วยประโยชน์สาธารณะ  (un intérêt public) เป็นหลัก  แต่ใน

                   บางกรณีก็อาจเกี่ยวข้องกับประโยชน์ของเอกชน (un intérêt privé) ได้เช่นกัน

                                                ในส่วนที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น เพื่อความ
                   มั่นคงแห่งรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน  การรักษาความสงบเรียบร้อย  และการป้องกันการกระท่า

                   ความผิดอาญา วัตถุประสงค์ต่างๆ เหล่านี้มักจะเป็นเหตุผลแห่งข้อยกเว้นของหลักการห้ามกระท่าการ
                   อันเป็นการแทรกแซงหรือล่วงละเมิดสิทธิในชีวิตส่วนตัวเกี่ยวกับที่พักอาศัย  (le  principe  de

                   l’inviolabilité du domicile)  อันได้แก่  การเข้าตรวจค้นสถานที่พักอาศัย  (de perquisitions) ของ

                   เอกชนเพื่อค้นหาพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระท่าความผิด  หรือการตรวจค้นร่างกาย  (la  fouille
                   corporelle) ซึ่งเป็นการตรวจค้นเนื้อตัวร่างกายหรือเครื่องแต่งกายของบุคคลหนึ่ง  อันอาจน่ามาซึ่งการ

                   ยึดหลักฐานของกลางที่ค้นพบ (la saisie des éléments de preuves découvertes) การตรวจค้นใน




                          ๓๗  Fr. RIGAUX, La protection de la vie privée et des autres biens de la personnalité, Bibliothèque

                   de la Faculté de droit de l’Université catholique de Louvain, t. XX, n° 638, 660, 661 , 684.
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46