Page 45 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 45

๓๐


                                                ข. ความรับผิดทางแพ่งของผู้กระท าละเมิดสิทธิในชีวิตส่วนตัวของ

                   บุคคลอื่น
                                                นอกจากผู้เสียหายจะขอให้ศาลสั่งให้หยุดการกระท่าอันเป็นการ

                   ละเมิดสิทธิในชีวิตส่วนตัวของตนอันเป็นมาตรการหลักในการด่าเนินการดังที่ได้กล่าวแล้ว  ผู้เสียหาย

                   ยังสามารถเรียกค่าเสียหายจากผู้ละเมิดสิทธิในชีวิตส่วนตัวของตนเพื่อความเสียหายที่ตนได้รับ
                   จากการกระท่าละเมิดนั้นได้อีกด้วย ซึ่งในทางปฏิบัติ ผู้เสียหายมักจะด่าเนินการทั้งสองประการดังกล่าว

                   ไปพร้อมๆ กัน โดยทั่วไปแล้ว การกระท่าอันเป็นการละเมิดสิทธิในชีวิตส่วนตัวย่อมเข้าเงื่อนไขแห่งความ
                   รับผิดทางแพ่งจากการกระท่าของบุคคล (la responsabilité civile du fait personnel) ตามที่บัญญัติไว้

                   ในมาตรา ๑๓๘๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งของสาธารณรัฐฝรั่งเศส  ความว่า “บุคคลที่ก่อให้เกิดความ
                                                                                         ๔๐
                   เสียหายแก่บุคคลอื่นจะต้องรับผิดต่อบุคคลนั้นเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่การนั้น ”  กล่าวคือ  มีการ
                   กระท่าความผิดของบุคคลหนึ่งต่อบุคคลอื่น และการกระท่านั้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย

                                                ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระท่าความผิด  (la faute)  ความผิดของผู้กระท่า
                   การอันก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายต่อชีวิตส่วนตัวของบุคคลในกรณีนี้  ได้แก่ การไม่ปฏิบัติ

                   หน้าที่ที่ตามกฎหมายของตน (un manquement à une obligation légale) ในอันที่จะต้องเคารพต่อ

                   สิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลอื่น  การประพฤติตนไม่ถูกต้อง  (une erreur de conduite) หรือไม่เหมาะสม
                   (un comportement anormal) แต่โดยทั่วไปการก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตส่วนตัวของบุคคลมักจะ

                   เป็นการกระท่าความผิดโดยจงใจ  (une faute délibérée)  อันมาจากการเลือกที่จะกระท่าการนั้นโดย

                   สมัครใจ (un choix volontaire) ของผู้กระท่า แต่ก็อาจมีกรณีเป็นการกระท่าโดยละเว้น  (une simple
                   omission) ได้เช่นกัน  เช่น  กรณีบรรณาธิการนิตยสารฉบับหนึ่งที่ปล่อยให้มีการตีพิมพ์บทความซึ่ง

                   ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตส่วนตัวของบุคคลหนึ่ง ทั้งๆ ที่ตนควรที่จะคัดค้านการตีพิมพ์บทความดังกล่าว
                   บรรณาธิการนั้นจึงต้องรับผิดร่วมกับบริษัทนิตยสารในการชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายเพื่อความเสียหาย

                                   ๔๑
                   ที่เกิดขึ้นแต่การนั้น
                                                การกระท่าความผิดโดยส่วนใหญ่จึงเป็นความผิดทางละเมิด (la faute
                   délictuelle)  แต่ในบางกรณีก็อาจเป็นความผิดทางสัญญา  (la faute  contractuelle)  ก็ได้ ในกรณีที่

                   ผู้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของบุคคลอื่นมีข้อผูกพันต่อผู้เสียหายที่จะไม่กระท่าเช่นนั้นหากแต่
                   บุคคลนั้นมิได้ปฏิบัติตามข้อผูกพันของตน  ตัวอย่างเช่น  กรณีหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งตีพิมพ์บทสัมภาษณ์

                   ของนักแสดงท่านหนึ่งเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของตนทั้งหมด  ในขณะที่มีการตกลงกันว่าจะตีพิมพ์เฉพาะ
                                     ๔๒
                   ข้อมูลส่วนหนึ่งเท่านั้น




                          ๔๐
                             Art. 1382 C. civ. « Tout fait quelconque de l'homme, qui cause à autrui un dommage, oblige
                   celui par la faute duquel il est arrivé à le réparer. »
                          ๔๑  Civ. 2,  9 juillet 1980, Bull. II, n° 179; Paris, 1  Ch. A, 19 juin 1989, F. c/ L., D. 1989, I.R., 240.
                                                               ère
                          ๔๒      ère
                             Paris, 1  Ch. A, 12 janvier 1987, Distel c/ Soc. anon. Cogedi-presse, D. 1987, I.R., 32.
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50