Page 36 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 36

๒๑


                                             (ค) การด าเนินมาตรการนั้นเป็นสิ่งจ าเป็นในสังคมประชาธิปไตย

                    และได้สัดส่วนกับวัตถุประสงค์อันเกี่ยวด้วยประโยชน์สาธารณะที่มุ่งหมายนั้น
                                                การด่าเนินมาตรการขององค์กรของรัฐอันเป็นการแทรกแซงการใช้

                   สิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลจะต้องเป็น “สิ่งจ าเป็น” ในสังคมประชาธิปไตย  และ “ได้สัดส่วน”

                   กับวัตถุประสงค์อันเกี่ยวด้วยประโยชน์สาธารณะที่มาตรการนั้นมุ่งหมายด้วย  กล่าวคือ  เหตุผลของการ
                   ด่าเนินมาตรการอันมีผลเป็นการแทรกแซงสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลจะต้องมีความจ่าเป็นและความ

                   เหมาะสมเพียงพอ (les motifs pertinents et suffisants)  ในอันที่จะบรรลุวัตถุประสงค์อันเกี่ยวด้วย
                   ประโยชน์สาธารณะที่มุ่งหมายนั้น ทั้งนี้  เพื่อให้การด่าเนินมาตรการขององค์กรของรัฐก่อให้เกิด

                   ผลกระทบหรือความเสียหายแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องน้อยที่สุด
                                                นอกจากนี้  การด่าเนินการตามมาตรการอันจ่าเป็นและเหมาะสม

                   เพียงพอนั้นยังจะต้องกระท่าตามความจ่าเป็นในแต่ละกรณีอีกด้วย


                   ๒.๒ สิทธิในความเป็นส่วนตัว และการรับรองและคุ้มครองในประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส


                                 โดยที่สาธารณรัฐฝรั่งเศสเป็นประเทศหนึ่งในสหภาพยุโรปที่ถือปฏิบัติตาม

                   หลักสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด  อีกทั้งยังได้ให้สัตยาบัน
                                                                                                  ๒๙
                   อนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานดังกล่าวข้างต้น   ด้วย
                   สาธารณรัฐฝรั่งเศสจึงให้ความส่าคัญกับ สิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลเป็นอย่างมาก  และให้การรับรอง

                   และคุ้มครองสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลในกฎหมายต่างๆ  ไว้อย่างชัดแจ้ง  ทั้งกฎหมายในทางแพ่ง

                   และในทางอาญาในทางแพ่ง  ประมวลกฎหมายแพ่งของสาธารณรัฐฝรั่งเศส  (Code  civil) บรรพหนึ่ง
                   ว่าด้วยบุคคล (Des personnes) ในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิทางแพ่งของบุคคล (La jouissance des droits civils)
                                                                                           ๓๐
                   มาตรา  ๙  วรรคหนึ่งบัญญัติว่า    “ บุคคลแต่ละคนมีสิทธิได้รับการเคารพต่อชีวิตส่วนตัว ”   และในส่วนที่
                   เกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่ง (La  responsabilité  civile) หรือความรับผิดทางละเมิด  (des  Délits)

                   มาตรา  ๑๓๘๒  บัญญัติว่า “ บุคคลใดกระท าผิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น  ต้องรับผิดชดใช้
                                       ๓๑
                   ค่าเสียหายแก่บุคคลนั้น” ในทางอาญาประมวลกฎหมายอาญาของสาธารณรัฐฝรั่งเศส (Code pénal)
                   ก็ได้ก่าหนดบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลไว้เช่นกัน  โดยบัญญัติไว้ในบรรพสอง

                   ว่าด้วยความผิดอาญาต่อบุคคล (LIVRE II: Des crimes et délits contre les personnes) ภาคสองว่าด้วย

                          ๒๙
                             สาธารณรัฐฝรั่งเศสให้สัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๑๙๗๔;  ดู A. PELLET, « La
                   ratification française de la Convention européenne des droits de l’homme », Rev. dr. pub., 1974, p. 1319; A.

                   COCARTE-ZILGIEN, « De quelques effets actuels et éventuels de la ratification de la Convention européenne
                   des droits de l’homme sur la politique et le droit français », Rev. dr. pub., 1978, p. 645.
                          ๓๐
                             Art. 9 al. 1, C. civ. «Chacun a droit au respect de sa vie privée.»
                          ๓๑  Art. 1382, C. civ. «Tout fait quelconque de l’homme, qui cause à autrui un dommage, oblige

                   celui par la faut duquel il est arrivé, à le réparer.»
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41