Page 35 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 35

๒๐


                   ในลักษณะซึ่งบุคคลที่เกี่ยวข้องจะสามารถรับรู้ได้ว่าพฤติกรรมในลักษณะใดจะอยู่ในขอบเขตแห่งการใช้

                   บังคับของกฎหมายและจะก่อให้เกิดผลแก่ตนอย่างไร  และเพื่อมิให้องค์กรของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
                   ก่าหนดมาตรการอันเป็นการแทรกแซงการใช้สิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลตามอ่าเภอใจ  (les atteintes

                   arbitraires de la puissance publique)  นั่นเอง  กล่าวอีกนัยหนึ่ง  การกระท่านั้นต้องมีกฎหมายบัญญัติ

                   ให้กระท่าได้ก็เพื่อให้การด่าเนินมาตรการขององค์กรของรัฐอันเป็นการแทรกแซงการใช้สิทธิในชีวิต
                   ส่วนตัวของบุคคลเป็นการกระท่าที่ชอบด้วยกฎหมาย (légitime)

                                                ประการที่สาม  กฎหมายที่บัญญัติให้องค์กรของรัฐด่าเนินมาตรการ
                   อันมีผลเป็นการแทรกแซงสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคล มิได้หมายความถึงแต่เพียงกฎหมายภายในของ

                   ประเทศที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่ยังหมายความรวมถึง “หลักประกันสิทธิ” ในลักษณะต่างๆ ของผู้เกี่ยวข้อง
                   (les garantis de droit de l’intéressé)  เพื่อตรวจสอบมิให้การด่าเนินมาตรการขององค์กรของรัฐเป็นไป

                   โดยไม่มีขอบเขตหรือตามอ่าเภอใจอีกด้วย  เช่น  การตรวจสอบหรือควบคุมการด่าเนินมาตรการของ

                   องค์กรของรัฐโดยองค์กรด้านกระบวนการยุติธรรม (le contrôle des juridictions administratives)
                                             (ข) การด าเนินมาตรการนั้นเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์อันเป็นประโยชน์

                   สาธารณะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ก าหนดไว้

                                                นอกจากการด่าเนินมาตรการขององค์กรของรัฐอันมีผลเป็นการ
                   แทรกแซงสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลจะต้องมีกฎหมายบัญญัติให้กระท่าได้ดังที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว

                   มาตรการดังกล่าวยังจะต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมาย (ayant un but légitime) อีกด้วย

                   กล่าวอีกนัยหนึ่ง การด่าเนินมาตรการนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์อันเกี่ยวด้วย “ประโยชน์สาธารณะ”
                   ตามที่ก่าหนดไว้ในวรรคสองของข้อ  ๘  ของอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและ

                   เสรีภาพขั้นพื้นฐานอีกด้วย วัตถุประสงค์อันเป็นประโยชน์สาธารณะที่มุ่งหมาย ได้แก่  ความมั่นคงแห่งรัฐ
                   (la sécurité nationale) ความปลอดภัยของประชาชน (la sûreté publique) ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

                   ของประเทศ (le bien-être économique du pays) การรักษาความสงบเรียบร้อย  (la défense de l’ordre)

                   และการป้องกันการกระท่าความผิดทางอาญา  (la prévention des infractions pénales)  การคุ้มครอง
                   สุขภาพหรือจิตใจ (la protection de la santé ou de la morale) หรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ

                   บุคคลอื่น (la protection des droits et libertés d’autrui)
                                                การด่าเนินมาตรการขององค์กรของรัฐอันมีผลเป็นการแทรกแซงการ

                   ใช้สิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลจะกระท่าได้ก็ต่อเมื่อเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์อันเป็นประโยชน์สาธารณะ

                   ประการหนึ่งประการใดดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นเท่านั้น จึงจะถือว่าการด่าเนินมาตรการนั้นมีวัตถุประสงค์
                   อันชอบด้วยกฎหมายและเป็นการกระท่าอันชอบด้วยกฎหมาย ในทางกลับกัน หากการด่าเนินมาตรการ

                   ขององค์กรของรัฐมิได้เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ประการใดประการหนึ่งดังกล่าวข้างต้น  การด่าเนินมาตรการ

                   เช่นนั้นย่อมเป็นการแทรกแซงสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและมิอาจกระท่าได้
                   องค์กรของรัฐที่ด่าเนินมาตรการดังกล่าวย่อมมีความรับผิดต่อบุคคลผู้ทรงสิทธิในชีวิตส่วนตัวเพื่อความ

                   เสียหายอย่างใดๆ ที่เกิดขึ้นแต่การด่าเนินมาตรการเช่นนั้น
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40