Page 32 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 32

๑๗


                                         (๑)  เงื่อนไขเกี่ยวกับบุคคลผู้กระท าการอันเป็นการแทรกแซงสิทธิในชีวิต

                   ส่วนตัวของบุคคล
                                             เมื่อได้พิจารณาความในวรรคสองของข้อ  ๘  ของอนุสัญญาว่าด้วยการ

                   คุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานซึ่งก่าหนดว่า “การแทรกแซงการใช้สิทธิส่วนตัวของบุคคล

                   โดยองค์กรของรัฐจะกระท าได้ก็เฉพาะแต่เมื่อ "  ...แล้ว  จะเห็นได้ว่าบุคคลผู้อาจกระท่าการอันเป็นการ
                   แทรกแซงสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลอื่นโดยมีเหตุอันชอบธรรมที่จะกระท่าเช่นนั้นได้จ่ากัดเฉพาะแต่

                   “องค์กรของรัฐ” หรือ “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” (une autorité publique) เท่านั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งองค์กรของรัฐ
                   หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะกระท่าการหรือด่าเนินมาตรการอย่างหนึ่งอย่างใดอันมีผลเป็นการแทรกแซงสิทธิ

                   ในชีวิตส่วนตัวของบุคคลหนึ่งได้เฉพาะแต่ใน “ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐกับเอกชน” (les rapports
                   de la puissance publique et des particuliers) เท่านั้น

                                             โดยนัยดังกล่าว ความดังกล่าวข้างต้นมิได้หมายความว่าหากผู้กระท่าหรือ

                   ด่าเนินมาตรการอันเป็นการแทรกแซงสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลเป็นเอกชนเช่นเดียวกับบุคคลซึ่งสิทธิ
                   ของตนถูกแทรกแซงนั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง  การกระท่าอันเป็นการแทรกแซงสิทธิในชีวิตส่วนตัวของ

                   บุคคลเกิดขึ้นใน “ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชน” ด้วยกันเอง  (les rapports entre particuliers)  แล้ว

                   ผู้กระท่าการเช่นนั้นจะสามารถกระท่าได้หรือไม่มีความรับผิดใดๆ  และสามารถยกข้อยกเว้นตามความ
                   วรรคสองของข้อ  ๘  ของอนุสัญญาแห่งสหภาพยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ

                   ขั้นพื้นฐานเป็นข้อกล่าวอ้างแต่อย่างใด ตรงกันข้าม ในทางวิชาการกฎหมายมีการตีความโดยทั่วไปว่าสิทธิ

                   มนุษยชนประการต่างๆ  ดังที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและ
                   อนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานจะต้องตีความอย่างกว้าง

                   และได้รับการรับรองและคุ้มครองไม่เพียงแต่ในความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐและเอกชนเท่านั้น
                   หากแต่ยังได้รับการรับรองและคุ้มครองในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเองอีกด้วย การตีความ

                   ในแนวทางดังกล่าวยังได้รับการยืนยันตามข้อ  ๑๓  ของอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิ

                   มนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งบัญญัติว่า “บุคคลทุกคนซึ่งสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของตนได้รับ
                   การคุ้มครองตามอนุสัญญาฉบับนี้ถูกล่วงละเมิด  มีสิทธิที่จะฟ้องคดีต่อศาลแห่งรัฐของตน  แม้ว่าการ

                                                                            ๒๓
                   ล่วงละเมิดนั้นจะกระท าขึ้นโดยบุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของตนก็ตาม ”   โดยนัยเช่นนี้  จึงต้องตีความว่า
                   การแทรกแซงหรือล่วงละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพขั้นพื้นฐานของเอกชนคนหนึ่งโดยเอกชนอีกคนหนึ่ง

                   ย่อมจะกระท่ามิได้ยิ่งกว่า  ดังนั้น  นอกจากรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิ

                   มนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานจะมีหน้าที่ที่จะต้องเคารพสิทธิต่างๆ  ที่ได้รับการคุ้มครองไว้
                   ในอนุสัญญาแล้ว โดยจะต้องไม่กระท่าการใดๆ อันเป็นการแทรกแซงหรือล่วงละเมิดสิทธิในชีวิตส่วนตัว


                          ๒๓
                             Article 13 « Toute personne dont les droits et libertés reconnus dans  la présente Convention
                   ont été violés, a droit à l’octroi d’un recours effectif devant une instance nationale, alors même que la

                   violation  aurait  été  commise  par  des  personnes  agissant  dans  l’exercice  de  leurs  fonctions
                   officielles. »
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37