Page 31 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 31
๑๖
จากบุคคลภายนอก โดยเฉพาะการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่ต่ารวจโดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่เป็นไป
ตามที่กฎหมายบัญญัติ สิทธิของบุคคลในชีวิตส่วนตัวเกี่ยวกับที่พักอาศัยยังได้รับการคุ้มครอง
ในแง่เสรีภาพของบุคคลอีกด้วย ในอันที่บุคคลจะสามารถเลือกที่พักอาศัยของตนได้ตามเจตจ่านงของตน
โดยปราศจากการแทรกแซงหรือการหวงห้ามโดยองค์กรของรัฐหรือบุคคลอื่นใด
(ง) สิทธิในชีวิตส่วนตัวเกี่ยวกับการติดต่อทางจดหมาย (Droit au
respect de la correspondance)
สิทธิในชีวิตส่วนตัวเกี่ยวกับการติดต่อทางจดหมายของบุคคลย่อม
ครอบคลุมทั้งสิทธิในแง่ความลับของการติดต่อสื่อสารและในแง่ของเสรีภาพของบุคคลในการ
ติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นด้วย การคุ้มครองสิทธิดังกล่าวจึงมุ่งหมายถึงการคุ้มครองสิทธิในความเป็น
ส่วนตัวในการติดต่อสื่อสารจากการถูกตรวจค้นหรือเปิดอ่านหรือเปิดเผยข้อมูลในจดหมายหรือในการ
ติดต่อสื่อสารอย่างอื่นโดยไม่ชอบ ตลอดจนการคุ้มครองเสรีภาพของบุคคลในอันที่จะสามารถติดต่อกับ
บุคคลอื่นใดได้ตามที่บุคคลนั้นประสงค์ แม้ผู้ต้องคุมขังในเรือนจ่า (des détenus) ก็ต้องได้รับการรับรอง
สิทธิในชีวิตส่วนตัวประการนี้เช่นกัน
สิทธิในชีวิตส่วนตัวในลักษณะต่างๆ ทั้งสี่ประการดังกล่าวข้างต้น
ย่อมต้องได้รับการเคารพจากบุคคลทุกคน และก่อให้เกิดหน้าที่ตามกฎหมายต่อบุคคลทั้งหลาย
ที่จะต้องไม่กระท่าการใดๆ อันเป็นการแทรกแซงหรือล่วงละเมิดสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลอื่น
โดยมิชอบ เมื่อมีการกระท่าอย่างหนึ่งอย่างใดขององค์กรของรัฐอันอาจกระทบต่อสิทธิในชีวิตส่วนตัว
ของบุคคลหนึ่ง สิ่งที่จะพึงต้องพิจารณาต่อไป คือ การกระท่าอย่างหนึ่งอย่างใดนั้นจะเป็นการแทรกแซง
หรือล่วงละเมิดสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลซึ่งได้รับการรับรองและคุ้มครองไว้ในอนุสัญญาแห่งยุโรป
ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานโดยมิชอบหรือไม่ เพราะเหตุใด
๒.๑.๒ ข้อจ ากัดสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคล: การแทรกแซงสิทธิในชีวิตส่วนตัว
ของบุคคลโดยองค์กรของรัฐ
แม้ว่าโดยหลักแล้ว สิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลย่อมจะต้องได้รับการคุ้มครอง
จากการถูกแทรกแซงโดยองค์กรของรัฐและบุคคลอื่นใด อย่างไรก็ตาม ในบางสถานการณ์ องค์กรของรัฐ
อาจมีความจ่าเป็นที่จะต้องด่าเนินมาตรการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อประโยชน์สาธารณะ หากแต่การด่าเนิน
มาตรการนั้นอาจมีผลเป็นการแทรกแซง (l’ingérence) หรือล่วงละเมิดสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคล
ประการใดประการหนึ่งดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น
โดยนัยดังกล่าว องค์กรของรัฐจะด่าเนินมาตรการอันมีผลเป็นการแทรกแซง
สิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลหนึ่งได้โดยชอบด้วยกฎหมายจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขต่างๆ ดังที่บัญญัติไว้
ในวรรคสองของข้อ ๘ ของอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
ซึ่งประกอบด้วยเงื่อนไขส่าคัญสองประการ ได้แก่ (๑) เงื่อนไขเกี่ยวกับบุคคลผู้กระท่าการอันเป็นการ
แทรกแซงสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคล และ (๒) เงื่อนไขเกี่ยวกับการกระท่าอันเป็นการแทรกแซงสิทธิ
ในชีวิตส่วนตัวของบุคคล