Page 28 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 28
๑๓
ในสองลักษณะส่าคัญ กล่าวคือ การคุ้มครองในแง่ “ความลับเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว” (la protection du secret
de la vie privée) และการคุ้มครองในแง่ “เสรีภาพเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว” (la protection de la liberté
de la vie privée) ทั้งนี้ การคุ้มครองสิทธิในชีวิตส่วนตัวในทั้งสองลักษณะดังกล่าวมิได้แยกออกจากกัน
โดยเด็ดขาด หากแต่มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
ในส่วนนี้จึงแบ่งหัวข้อในการศึกษาออกได้เป็นสองประการ ได้แก่ (๑) ลักษณะ
ของสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคล และ (๒) ขอบเขตของสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคล
(๑) ลักษณะของสิทธิในชีวิตส่วนตัว
ชีวิตส่วนตัว (Vie privée) ของบุคคลมาจากศัพท์ภาษาลาตินว่า “privatus”
ซึ่งหมายถึง “การแยกออกจาก” (séparé de) หรือ “การปราศจากหรือไม่มี” (dépourvu de) สิทธิในชีวิต
ส่วนตัวจึงได้แก่ความสามารถหรือความประสงค์ของบุคคล (หรือกลุ่มบุคคล) ที่จะใช้หรือด่าเนินชีวิต
ส่วนตัวของตนเองเป็นเอกเทศจากบุคคลอื่น หรือในลักษณะที่ไม่ท่าให้ปรากฏแก่บุคคลอื่น (l’anonymat)
โดยนัยดังกล่าว สิทธิในชีวิตส่วนตัวจึงสัมพันธ์กับ “ความรู้สึกพิเศษส่วนตัว” ในสิ่งหนึ่งสิ่งใดของบุคคลหนึ่ง
และเชื่อมโยงกับแนวความคิดเกี่ยวกับ “สิทธิเสรีภาพ” ของบุคคลที่จะด่าเนินชีวิตหรือกระท่าตามความ
พึงพอใจหรือตามวิถีของบุคคลนั้น แม้ว่าการจะให้ค่านิยามของค่าว่า “สิทธิในชีวิตส่วนตัว” จะเป็นเรื่อง
ยากและมิอาจก่าหนดในลักษณะที่เคร่งครัดตายตัวได้ แต่ค่าว่า “สิทธิในชีวิตส่วนตัว” มีขอบเขตที่
๑๙
กว้างขวางกว่าค่าว่า “สิทธิในความเป็นส่วนตัว” (Droit à l’intimité) หรือ “ Privacy ” ทั้งนี้ ตามที่ศาล
แห่งยุโรปด้านสิทธิมนุษยชน (La Cour européenne des droits de l’homme - CEDH ou Cour de
๒๐
Strasbourg) ได้เคยวินิจฉัยไว้ในคดี Niemietz c/Allemagne ในปี ค .ศ. ๑๙๙๒ ว่า “ดูจะเป็นการ
เคร่งครัดจนเกินไป หากก่าหนดนิยามค่าว่า “สิทธิในชีวิตส่วนตัว” ให้จ่ากัดเฉพาะแต่ในกรอบของความ
เป็นส่วนตัว (« cercle intime ») ซึ่งบุคคลแต่ละคนสามารถด่าเนินชีวิตส่วนตัวของตนให้เป็นไปตาม
ความพึงพอใจของตนและแยกโลกภายนอกออกไปจากกรอบดังกล่าวโดยสิ้นเชิง การเคารพต่อสิทธิใน
ชีวิตส่วนตัวยังต้องครอบคลุมถึงสิทธิของบุคคลที่จะก่อให้เกิดและพัฒนาความสัมพันธ์ต่างๆ กับบุคคลที่
คล้ายคลึงกันอีกด้วย ” ดังนั้น สิทธิในชีวิตส่วนตัวจึงย่อมรวมถึงสิทธิที่จะพัฒนาความสัมพันธ์กับบุคคล
ทั้งหลายและติดต่อกับโลกภายนอกด้วย
สิทธิในชีวิตส่วนตัวจึงเป็นสิทธิโดยธรรมชาติที่ติดอยู่กับตัวบุคคลและติดมา
กับตัวบุคคลในฐานะเป็น “มนุษย์” คนหนึ่ง (personne humaine) และมิอาจจะถูกพรากไปจากบุคคล
ได้ มิใช่สิทธิที่กฎหมายรับรองหรือมอบให้แก่บุคคลหนึ่งอันเนื่องมาจากสถานะทางกฎหมายของบุคคลนั้น
(un statut juridique particulier) ซึ่งอาจถูกเพิกถอนได้ (révocable) โดยนัยดังกล่าว สิทธิในความเป็น
ส่วนตัวจึงเป็นสิทธิของบุคคลธรรมดาหรือสิทธิที่บุคคลธรรมดาเป็นผู้ทรงสิทธิ (droit de l’individu) เท่านั้น
๑๙
Ursula Kilkelly, Le droit au respect de la vie privée et familiale, Un guide sur la mise en œuvre
de l’aricle 8 de la Convention européenne des Droits de l’Homme, Conseil de l’Europe, 2003, p. 10.
๒๐
Arrêt Niemietz c/Allemagne, du 16 décembre 1992.