Page 24 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 24
๙
ส่าหรับการพิจารณาว่าขอบเขตที่รัฐจะเข้าแทรกแซงสิทธิและเสรีภาพของปัจเจก
บุคคล จะกระท่าได้เพียงใดนั้น มีเกณฑ์ส่าคัญที่ใช้ในการพิจารณาได้แก่ หลักการจ่ากัดสิทธิและเสรีภาพ
เท่าที่จ่าเป็นหรือหลักพอสมควรแก่เหตุ หรือหลักความได้สัดส่วน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หลักห้ามมิให้
กระท่าเกินกว่าเหตุ ซึ่งเป็นหลักที่มีความส่าคัญอย่างยิ่งในการน่ามาใช้ควบคุมการใช้อ่านาจของรัฐ
ที่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดยที่มาของหลักการดังกล่าวนั้น มาจากหลักกฎหมาย
ของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และเป็นหลักกฎหมายที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง
ในสหภาพยุโรป
หลักความได้สัดส่วน เป็นหลักที่ถือว่ามีความส่าคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ต่อศาลรัฐธรรมนูญของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี นับตั้งแต่ทศวรรษที่ ๑๙๕๐ ศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์
ได้น่าหลักการดังกล่าวมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาในกรณีที่มีการจ่ากัดสิทธิและเสรีภาพของ
ประชาชน หลักความได้สัดส่วนนั้นเป็นหลักที่น่ามาใช้เป็นการทั่วไป โดยถือว่าเป็นหลักเกณฑ์
ตามรัฐธรรมนูญที่น่ามาใช้ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระท่าของรัฐทุกประเภท
โดยภาระหน้าที่หลักของหลักความได้สัดส่วนนั้นมิได้มีความหมายมุ่งหมายเฉพาะการจ่ากัดการแทรกแซง
ของอ่านาจรัฐเท่านั้น แต่หากตีความหลักความได้สัดส่วนอย่างถูกต้องแล้ว หลักความได้สัดส่วนนั้น
นอกเหนือจากจะเป็นหลักการในทางเนื้อหาที่ห้ามมิให้มีการใช้อ่านาจอย่างอ่าเภอใจแล้วยังเป็นเกณฑ์
มาตรฐานที่เป็นสาระส่าคัญในการควบคุมตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญอีกด้วย โดยสาระส่าคัญของ
หลักความได้สัดส่วนนั้น มีสาระส่าคัญอยู่ ๓ ประการ คือ
(๑) ความเหมาะสมของมาตรการหรือวิธีการส่าหรับวัตถุประสงค์อันใด
อันหนึ่งโดยหลักความเหมาะสม หมายความถึงสภาพการณ์ซึ่งรัฐได้ท่าการแทรกแซงและภายใน
สภาพการณ์นั้นรัฐจะต้องค่านึงถึงการท่าให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ก่าหนดไว้ โดยมาตรการนั้นวางอยู่บน
สมติฐานที่ได้รับการยอมรับหรือเป็นมาตรการที่ได้แสดงให้เห็นอย่างแจ้งชัดว่ามีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุ
วัตถุประสงค์ดังกล่าว
(๒) ความจ่าเป็นของมาตรการหรือวิธีการ ศาลรัฐธรรมนูญของสหพันธ์
ได้อธิบายหลักความจ่าเป็นว่า มาตรการใดมาตรการหนึ่งจะมีความจ่าเป็นเมื่อไม่สามารถที่จะเลือก
มาตรการอื่นใดที่มีผลเช่นเดียวกับมาตรการที่เลือกได้ อีกทั้งมาตรการนั้นเป็นมาตรการที่มีผลกระทบต่อ
๑๓
สิทธิขั้นพื้นฐานน้อยที่สุด โดยการตรวจสอบความจ่าเป็นของมาตรการอันใดอันหนึ่งนั้น มีเงื่อนไข
พื้นฐานอยู่ที่การพิจารณาความเหมาะสมของมาตรการนั้น เฉพาะมาตรการที่มีความเหมาะสมเท่านั้นถึง
จะน่าไปสู่การตรวจสอบตามหลักความจ่าเป็น
หลักความจ่าเป็นมีความส่าคัญอย่างยิ่งในการควบคุมการใช้อ่านาจ
มหาชนที่มีผลกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งเคยมีกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นในปี ๑๙๖๘ ที่กรุงเบอร์ลิน
เจ้าหน้าที่ต่ารวจได้ออกค่าสั่งห้ามมิให้มีการเดินขบวน แต่ก็มีบุคคลกลุ่มเล็กๆ ได้น่าโปสเตอร์แผ่นเล็กๆ
๑๓
BVerfGE 30,292 (316);63,88 (115);70,278 (286)