Page 23 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 23
๘
อาจต้องเข้าแทรกแซงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลได้โดยอาศัยเหตุผลเพื่อรักษาความสงบ
เรียบร้อยของส่วนรวมหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ มาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “การจ ากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้
จะกระท ามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอ านาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้ก าหนด
ไว้และเท่าที่จ าเป็น...”
โดยวัตถุประสงค์หรือเหตุผลในการแทรกแซงสิทธิความเป็นส่วนตัวของรัฐนั้น
มีความมุ่งหมายที่ส่าคัญสรุปได้ ๓ ประการ ได้แก่
๑.๕.๑ เพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลอื่น
เนื่องจากตามแนวความคิดของกฎหมายธรรมชาติถือว่ามนุษย์ทุกคนมี
สิทธิและเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกัน สิทธิ เสรีภาพของบุคคลหนึ่งย่อมมีข้อจ่ากัดอยู่ที่สิทธิและเสรีภาพ
ของบุคคลอื่นๆ โดยหลักทั่วไปแล้วผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลซึ่งมิได้มีความมุ่งหมายเพื่อก่อให้เกิด
ความเสียหายแก่บุคคลที่สาม และผลประโยชน์ดังกล่าวเป็นผลประโยชน์ที่เป็นสาระส่าคัญในทางส่วน
บุคคล ดังนั้น การละเมิดผลประโยชน์ของบุคคลอื่นก็ดี การท่าให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นก็ดี หรือ
การท่าให้เกิดความเสียเปรียบแก่บุคคลที่สามก็ดี กรณีดังกล่าวจึงเป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น ดังนั้น
เมื่อมีรัฐเกิดขึ้น “สิทธิบุคคลอื่น” จึงได้รับการรับรองโดยกฏเกณฑ์ของรัฐ และถือเป็นข้อจ่ากัดของสิทธิ
และเสรีภาพของบุคคลประการหนึ่ง
๑.๕.๒ เพื่อการด ารงอยู่และเพื่อความสามารถในการท าภาระหน้าที่ของรัฐ
ตามพื้นฐานของทฤษฎีสัญญาประชาคมนั้น ความมั่นคงของรัฐเป็นผลมา
จากการที่รัฐเข้ามาท่าหน้าที่ให้ความคุ้มครองแก่สิทธิของปัจเจกบุคคล ดังนั้น ความมั่นคงในการด่ารงอยู่
ของรัฐและความสามารถในการท่าภาระหน้าที่ของรัฐจึงเป็นเหตุผลอันชอบธรรมส่าหรับการจ่ากัดสิทธิ
และเสรีภาพตามธรรมชาติของบุคคลได้
๑.๕.๓ เพื่อประโยชน์สาธารณะ
ประโยชน์สาธารณะ ถือว่าเป็นเหตุผลที่ส่าคัญประการหนึ่งในการจ่ากัด
สิทธิและเสรีภาพ โดยลักษณะของ “ประโยชน์สาธารณะ” ในกฎหมายมหาชนมีลักษณะดังนี้
(๑) ประโยชน์สาธารณะคือการตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่
ที่ไม่ใช่ผู้ด่าเนินการนั้นๆ เอง
(๒) ผู้ที่จะบอกว่าอะไรคือประโยชน์สาธารณะ โดยหลักก็คือรัฐสภา ซึ่งเป็น
ผู้แทนของปวงชน และศาล
(๓) เมื่อเป็นประโยชน์สาธารณะแล้ว ฝ่ายปกครองมีหน้าที่ที่ต้อง
ตอบสนองแต่จะเลือกใช้ดุลยพินิจว่าจะท่าหรือไม่ท่า ไม่ได้
(๔) ขอบเขตของ “ประโยชน์สาธารณะ” นั้นมีขอบเขตที่กว้างมากขึ้นอยู่
กับรัฐสภาจะก่าหนดในกฎหมายต่างๆ