Page 25 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 25

๑๐


                   ไปติดที่โคมไฟตามถนน และสถานที่อื่นๆ เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนมาร่วมเดินขบวนในวัน เวลา

                   และสถานที่ที่ปรากฏในแผ่นโปสเตอร์นั้น ต่ารวจได้ท่าการจับกุมบุคคลซึ่งท่าการติดแผ่นโปสเตอร์นั้น
                   โดยได้ควบคุมตัวบุคคลผู้นั้นไว้จนกระทั่งถึงวันที่มีการเดินขบวน และต่อมาได้มีการร้องไปยังศาลปกครอง

                   ชั้นสูงของเบอร์ลิน ศาลได้วินิจฉัยว่าการจับกุมบุคคลดังกล่าวนั้นไม่มีความจ่าเป็นส่าหรับการรักษาความ
                                                                                     ๑๔
                   สงบของสังคม เพราะการริบแผ่นประกาศดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นการเพียงพอแล้ว
                                             (๓) ความได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ หรือความสมเหตุสมผล

                   ระหว่างผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประโยชน์ที่ได้จากการด่าเนินการตามมาตรการดังกล่าว ได้แก่ การได้รับ
                   ผลกระทบอันเกิดจากการแทรกแซงในเสรีภาพของปัจเจกบุคคลจะต้องไม่อยู่นอกเหนือจากขอบเขต

                   ความสัมพันธ์ของประโยชน์อันเป็นเป้าหมายของสาธารณะที่ก่าหนดไว้ ประโยชน์ที่ได้จากการด่าเนินการ
                   ตามมาตรการนั้นจะต้องมีน้่าหนักมากกว่าผลเสียที่เกิดจากมาตการดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์เคย

                   วินิจฉัยไว้ว่ามาตรการอันใดอันหนึ่งจะต้องไม่ก่อให้เกิดภาระแก่ผู้ได้รับผลกระทบจนเกินกว่าขอบเขต

                   และผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล ดังนั้น หลักความได้สัดส่วนจึงเป็นการยืนยันถึง
                   ความสมควร หรือความสมเหตุสมผล อันมีความใกล้เคียงอย่างยิ่งกับความหมายของหลักความได้สัดส่วน

                                       ๑๕
                   ในความหมายอย่างแคบ
                                     หลักความได้สัดส่วนตามหลักกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีนั้น
                   ถือว่าเป็นหลักกฎหมายมหาชนทั่วไปที่มิได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด แต่ได้รับการ

                   ยอมรับว่าเป็นหลักกฎหมายทั่วไปอย่างกว้างขวาง มิใช่เฉพาะแต่ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

                   เท่านั้น ยังรวมถึงออสเตรเลีย สาธารณรัฐฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศอื่นๆ นอกจากนั้นยังได้รับ
                   การยอมรับว่าเป็นหลักกฎหมายในกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นหลักที่ได้รับการ

                   ยอมรับจากสหภาพยุโรป ทั้งนี้ เพราะรากฐานของหลักความได้สัดส่วนนั้นมีพื้นฐานมาจากหลักความ
                   ยุติธรรม อันเป็นพื้นฐานของหลักกฎหมายทั่วไป และเป็นหลักที่ค่านึงถึงความยุติธรรมทั้งในส่วนของ

                   ปัจเจกบุคคลและความยุติธรรมต่อสังคมโดยรวมด้วย
























                          ๑๔  M.Ch.Jakops,Der GrundsatZ der Verhaelthismaessigkeit,1981 S.68

                          ๑๕
                             M.GentZ,NJW 1968,S.1600 (1604);P.Badura,1986,S.26
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30