Page 213 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 213

212      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                คนพวกนี้เป็นกลุ่มคนที่ล่าสัตว์โดยไม่เข้าใจวิถีแห่งธรรมชาติ พฤติกรรมของตัวละครกลุ่มนี้จึงเป็นภาพ
                เปรียบเทียบให้ผู้อ่านเห็นว่า การล่าของพรานในชุมชนท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้และภูมิปัญญาที่สั่งสอน สะสม

                กันมาจากบรรพบุรุษและตั้งอยู่บนหลักศีลธรรม จึงเป็นการล่าสัตว์ที่ยอมรับได้เพราะทําไปเพื่อการยังชีพและ
                ไม่ได้มุ่งทําลายระบบนิเวศ แต่การล่าสัตว์ของคนนอก/คนเมือง เป็นการล่าสัตว์ที่ไร้ศีลธรรม เป็นพฤติกรรม
                ทําลายธรรมชาติ วาทกรรมนี้มีผลให้ผู้อ่านเห็นภาพเปรียบเทียบการกระทําของคนบ้านป่ากับคนเมืองที่ดู

                เหมือนว่าจะมีวัฒนธรรมสูงส่งแต่ขาดจิตสํานึกในการอนุรักษ์และตระหนักถึงคุณค่าของสรรพชีวิต เช่น

                               “ปางที่มีทางรถลากไม้ ซอกซอนลึกเข้าไปแทบทุกพื้นที่ ทําให้เป็นเส้นทางอย่างดีสําหรับ
                       คนภายนอก โดยเฉพาะพวกนักนิยมไพรหรือพูดง่ายๆ คือพวกชอบล่าสัตว์ อาศัยเส้นทางนี้เข้ามา
                       เที่ยวป่าหายิงสัตว์ด้วยรถจี๊ปชั้นดีอยู่เสมอ การล่าสัตว์ยกเว้นช้างทําได้โดยไม่ผิดกฎหมาย เพราะ

                       พ.ร.บ. คุ้มครองสัตว์ป่ายังไม่มี พวกคนมั่งมี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และขุนนางบรรดาศักดิ์ทั้งหลาย
                       จึงนิยมเข้ามาเที่ยวล่าสัตว์กันเป็นประจํา...
                       ...สิ่งที่คนทําไม้และชาวบ้านป่าไม่ชอบ ก็ตรงที่พวกล่าสัตว์บางกลุ่มไม่รับผิดชอบ ไปยิงสัตว์ใหญ่
                       บาดเจ็บแล้วไม่ติดตาม ปล่อยให้สัตว์ใหญ่เช่น เสือ ช้าง กระทิง กลายเป็นสัตว์บาดเจ็บ ดุร้ายและ

                       อาฆาตพยาบาทผิดธรรมชาติ สัตว์บาดเจ็บพวกนี้ เจอคนเมื่อไร เป็นพุ่งเข้าใส่ด้วยความโกรธแค้น
                       ทันที เรื่องนี้มีชาวบ้านรับเคราะห์จากการกระทําของเหล่าพรานบรรดาศักดิ์เป็นประจํา”
                                                                             (รางเหล็กในป่าลึก, 2552: 292)


                       ตัวอย่างข้างต้นนี้ย้ําให้เห็นว่า คนนอก (เจ้าของสัมปทานป่าไม้) นําพาปัญหาเข้ามาสู่ป่าเสมอ กลุ่ม
                คนพวกนี้ทําลายสมดุลในธรรมชาติ ขณะที่ชุมชนในป่ารักษาสมดุลมิให้ธรรมชาติสูญสลายเพราะชุมชนมีระบบ

                ความคิดและภูมิปัญญาของชุมชน พรานเจนไพรเป็นตัวอย่างหนึ่งให้เห็นได้อย่างชัดเจน

                       เห็นได้ว่าบทบาทของนายพรานในวรรณกรรมของวัธนามีความสําคัญด้วยบทบาทในการสร้าง
                จิตสํานึกเรื่องธรรมชาติ แม้พรานจะมีความหมายเป็นผู้รู้เชิงป่าและเป็นล่าสัตว์ในพงไพร แต่ความหมายของ
                พราน ที่วัธนาเน้นย้ําผ่านวรรณกรรมของเขา คือ “พราน” เป็นผู้รู้จัก ตระหนักถึงคุณค่าและเข้าใจวิถีแห่งป่า

                วิถีแห่งธรรมชาติที่แท้จริง การกระทําและองค์ความรู้ของพรานช่วยรักษาป่าให้ยั่งยืนได้ บทบาทที่ย้อนแย้ง
                ของนายพราน มิได้ทําให้ผู้อ่านสับสนแต่นําผู้อ่านไปสู่การตระหนักรู้ในวิถีของธรรมชาติ วิถีของชุมชนและ

                บ่มเพาะจิตสํานึกการอนุรักษ์ธรรมชาติได้ในที่สุด ตรรกะนี้สอดคล้องกับมโนทัศน์วรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศ
                ข้อหนึ่งคือ การตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติที่เชื่อว่า มนุษย์กับสัตว์เราล้วนมาจาก

                แหล่งเดียวกัน การฆ่าล้างผลาญชีวิตหนึ่งๆ ในธรรมชาติจากคนนอกจึงส่งผลกระทบต่อชีวิตอื่นๆ อย่างแน่นอน
                เพราะสรรพชีวิตล้วนสัมพันธ์กัน
   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218