Page 215 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 215
214 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
เย็นฉ่ําราดรดจนเปียกชื้น พลันพื้นดินก็ส่งกลิ่นหอมกรุ่น อบอวลไปทั่วผืนป่ากว้าง กลิ่นดินได้ฝนใหม่
หอมหวนชวนให้สดชื่น อากาศที่ร้อนแล้งมาตลอดทั้งวัน กลับกลายเย็นฉ่ําอย่างรวดเร็ว”
(หอมกลิ่นป่า, 2542:146-147)
การบรรยายฉากโดยทําให้ผู้อ่านเล็งเห็นความงดงามและอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าถ้าอ่านตามมโนทัศน์
วรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศที่อธิบายว่า ภาพธรรมชาติที่สวยงามสะท้อนสํานึกเรื่องความเป็นหนึ่งเดียวกับ
ธรรมชาติ เพราะมนุษย์มิได้รู้สึกแปลกแยกจากธรรมชาติ ธรรมชาติจึงไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว แต่เป็นความงาม ทัศนะ
เช่นนี้ทําให้นักประพันธ์บรรยายฉากในธรรมชาติออกมาเป็นภาพด้านดี นอกจากภาพธรรมชาติที่สวยงามจะ
สะท้อนทัศนะความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ นอกจากนี้ภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ยังได้สะท้อนทัศนะที่ว่า
ธรรมชาติคือผู้ก่อกําเนิดอีกด้วย เช่น
“เมื่อหมดฝนสายลมสายลมเย็นก็เริ่มโชยลงมา ต้นไม้ใบหญ้าเริ่มออกดอกชูช่อเพิ่มสีสัน
ก่อนที่จะติดลูกพราวไปทั้งป่า สรรพสัตว์เริงร่ากู่ร้องหาคู่ผสมพันธุ์ พรานเนียนกับเมียสาวปลูก
กระท่อมหลังใหม่อยู่ วันที่ว่างจากงานไร่ก็พากันออกเที่ยวป่าหาเก็บเห็ด เก็บผักป่า ทั้งหน่อไม้และ
ลูกไม้ โดยไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ พรานเนียนรู้ซึ้งถึงความสงบสวยงามและอ่อนโยนของป่า”
(หอมกลิ่นป่า, 2542: 190)
การบรรยายฉากในวรรณกรรมของวัธนาจึงเป็นกลวิธีที่ช่วยย้ําแนวคิดหลักได้ด้วย นอกจากนี้ฉากในป่า
ยังส่งผลสืบเนื่องไปถึงภาพวิถีชีวิตของชุมชน/คนในป่า เช่น
“ตรงที่ลําธารสองสายไหลมารวมกัน พื้นลําธารยามแล้งเป็นแนวหาดรายกว้างราวกับ
ทะเล แต่หน้าน้ําสายน้ําจะตีเกลียวลงมาจากหุบเขา บางครั้งก็ไหลเอ่อท้นท่วมทําลายสองฝั่งจนมิด
จากที่มีน้ําท่วมเกือบทุกปี ท่วมทีไรสายน้ําก็พัดพาดินโคลนและปุ๋ยธรรมชาติมาเติมให้กับพื้นดิน จึง
ทําให้ดินแดนแถบนี้อุดมสมบูรณ์ เพาะปลูกพืชพันธุ์อะไรก็ขึ้นงอกงาม สบหาดคือชื่อหมู่บ้านริมลํา
น้ํานี้ หมู่บ้านที่มีอยู่หลายสิบหลังคาเรือน ส่วนมากมีอาชีพเกษตรกรรม เพาะปลูกพืชผักหอม
กระเทียม ยาสูบและผลไม้ น้ําท่าอุดมดินดี ชาวบ้านจึงมีสภาพความเป็นอยู่ไม่สู้จะขัดสน”
(หอมกลิ่นป่า, 2542: 151)
วัธนา บุญยังสามารถวาดภาพแทนของป่าด้วยตัวหนังสือได้อย่างน่าประทับใจ ขณะเดียวกันก็สามารถ
ฉายภาพชุมชนที่อาศัยพึ่งพาธรรมชาติ แต่หายนะที่จะเกิดกับป่าเป็นเพราะอุตสาหรรมการค้าไม้ ซึ่งมีต่อสัตว์
ป่า แหล่งน้ําและชุมชนในที่สุด เห็นได้ว่าวรรณกรรมของวัธนามุ่งสร้างองค์ความรู้ที่จะทําให้เข้าใจวิถีของ
ธรรมชาติ สะท้อนให้เข้าใจถึงห่วงโซ่แห่งความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติ ป่า คนตามแนวทางมโนทัศน์
วรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศ