Page 217 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 217

216      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                ด้วยมโนทัศน์สิทธิชุมชน นอกจากจะพบว่าเขาเสนอทัศนะเกี่ยวกับความขัดแย้งเรื่องสิทธิการจัดการทรัพยากร
                และการละเมิดสิทธิชุมชนไว้ในวรรณกรรมอย่างไรแล้วนั้น ข้อคิดที่ได้ก็ฉายให้เห็นความสําคัญสิทธิการจัดการ

                ทรัพยากรในฐานะทางออกแห่งปัญหา การใช้วรรณกรรมเป็นเครื่องมือสื่อให้เห็นสัมพันธ์ระหว่างคนกับป่าใน
                ข้อนี้เองที่ทําให้วรรณกรรมของวัธนาแสดงทัศนะทั้งนิเวศสํานึกและสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรได้อย่าง
                ชัดเจน


                       แม้จนถึงขณะนี้ “ป่าชุมชน” หรือ “สิทธิชุมชน” ในสังคมไทยได้กลายเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐกับ

                ชุมชนที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้เพราะต่างฝ่ายต่างยกข้ออ้างมาคัดง้างกันเสมอ ชุมชนมองว่ารัฐใช้ระบบสองมาตรฐาน
                เช่น การตั้งคําถามว่า ทําไมรัฐให้สัมปทานป่าไม้แก่นายทุนแต่ขับไล่ชุมชน ขณะที่รัฐก็กล่าวอ้างถึงปัญหา

                สิ่งแวดล้อม รัฐมองว่าชุมชนคือผู้ทําลายสิ่งแวดล้อม ปัญหาดังกล่าวนําไปสู่ความพยายามในการไขประตูทางออก
                ของกลุ่มนักวิชาการหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะนักวิชาการด้านป่าไม้ นักวิชาการด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
                ตลอดจนนักวิชาการอิสระ นักสิทธิมนุษยชน เขาเหล่านั้นเชื่อว่าแนวคิดเรื่องป่าชุมชนและสิทธิของชุมชนซึ่งเป็น

                วิธีประสานประโยชน์ให้ทุกฝ่าย ทั้งป่า คน ชุมชนและรัฐคงไม่สัมฤทธิผล เพราะต่างฝ่ายต่างมุ่งมองปัญหากัน
                คนละด้าน ปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นเกี่ยวพันถึงปัญหาการจัดการทรัพยากร เกี่ยวพันกับคน/ชุมชน เป็นปัญหาลูกโซ่

                ซึ่งอํานาจและการจัดการของรัฐอย่างเดียวคงไม่อาจแก้ไขได้ การนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะ
                ภาคประชาชน โดยนัยนี้ หากรัฐตระหนักว่าประชาชนคือพลังขับเคลื่อนประเทศชาติที่แท้จริง รัฐจงเชื่อมั่นใน

                ศักยภาพของประชาชน จงศรัทธาและเห็นคุณค่าในวิถีชุมชน ท้องถิ่น เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตลอดจน
                ต้องตระหนักถึงสายสัมพันธ์ที่ตัดไม่ขาดระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติด้วย


                หมายเหตุ: ผู้เขียนบทความขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.สรณัฐ ไตลังคะ และอาจารย์นัทธนัย ประสานนาม

                         ที่ให้คําแนะนําในการแก้ไขปรับปรุงบทความนี้
   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222