Page 209 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 209
208 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
ฉันว่าบริษัททําไม้นี่แหละเป็นตัวเร่งให้ป่าเตียนเร็วดีนัก ได้สัมปทานที่ไหนก็ทําทางลาก
ไม้ซอกซอนเข้าไปอย่างทั่วถึง พอมีทางคนก็อพยพตามเข้าไป ใครจะไปห้ามไหว พวกป่าไม้ก็คอย
แต่ตีตราตรวจไม้ ไม่เห็นทําอะไรได้ จริงไหมพี่หริ่ง
ที่เอ็งว่าก็จริงอยู่ แค่เพียงพรานป่าอย่างพวกเราล่าสัตว์ ถ้าป่ายังสมบูรณ์อยู่ละก้อไม่มี
วันหมด แต่ถ้าป่าเตียนเมื่อไร สัตว์ก็หมดเมื่อนั้น...”
(พรานคนสุดท้าย, 2546:54-55)
บทบาทที่ย้อนแย้ง (irony) ของนายพรานในวรรณกรรมของวัธนา “พรานผู้รู้-พรานผู้ล่า” คือการแฝง
ปัญหาป่าไม้และสิทธิชุมชนไว้อย่างแนบเนียน การกระทําของนายพรานผู้รู้เป็นการย้ําให้เข้าใจความ
ความหมายของป่าและบทบาทของชุมชน ขณะที่พรานผู้ล่าขยายภาพและการรับรู้เกี่ยวกับป่า จากป่าที่เคย
อุดมสมบูรณ์สู่ป่าที่ถูกทําให้แห้งแล้ง ทําให้ผู้อ่านเห็นปัญหาป่าเสื่อมโทรมและสาเหตุที่แท้จริงได้ในที่สุด เช่น
“เมื่อมีบริษัทใหญ่เข้ามาทําไม้ ชีวิตการทํามาหากินของชาวบ้านก็เริ่มเปลี่ยนไป หลายครอบครัว
เตรียมตัวรับจ้างบริษัทเพราะได้เงินเดือนประจํา ดีกว่าการหาของป่ามาขายซึ่งเป็นรายได้ที่ไม่
แน่นอน เส้นทางเกวียนในป่า ถูกปรับให้เป็นทางของรถซุง จากที่เคยเป็นเส้นทางเล็กๆ คดเคี้ยว
ขรุขระ บริษัทก็ใช้รถแทรกเตอร์ไถให้กว้างขึ้น และมีการบุกเบิกเส้นทางลึกเข้าไปในป่าอีก
มากมายเพื่อชักลากไม้ออกมา”
(รางเหล็กในป่าลึก, 2552: 51)
จากตัวอย่างข้างต้น สรุปได้ว่ามุมมองและเรื่องเล่าของตัวละครนายพราน แสดงให้เห็นความเป็นจริง
ของ 2 ด้าน คือ
(1) วิถีและความเป็นไปของฝ่ายคน/ชุมชน วรรณกรรมแนวผจญภัยในป่าของวัธนา แม้จะเป็นเรื่อง
ของคนที่เข้าไปล่าสัตว์ เข้าไปอาศัยป่า บุกป่าเพื่อแสวงหาที่อยู่ทํากินจนกลายเป็นชุมชนในป่าขึ้นมาก็ตาม แต่
สิ่งที่เขาแทรกไว้และแสดงให้เห็น คือ ชุมชนเหล่านี้เชื่อมั่นว่า ป่าเป็นบ่อเกิดของอาหาร ยา ความสุข เขา
ประสงค์ที่จะรักษาและจัดการป่าอย่างยั่งยืนด้วยกําลังของตนเอง ตามวิถีของตนเอง พวกเขาเริ่มต้นด้วยการ
แสวงหาพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงมีทําเลที่ตั้งที่เหมาะสม มีสัตว์ให้ล่าพอกิน มีพืชผักตามธรรมชาติให้
เก็บพอขาย แม้ชุมชนต้องถางป่าก็เพื่อการยังชีพจึงไม่ก่อผลเสียต่อระบบนิเวศในระดับมหภาค ชุมชนจึงยังคง
รักษาป่าไว้ในสภาพดั้งเดิมได้ ชุมชนไม่ทําลายป่าเกินกว่าความจําเป็น เพราะตระหนักดีว่า ความอุดมสมบูรณ์
ยั้งยืนของป่ายิ่งมีมากเท่าใดความอุดมสมบูรณ์ในชีวิตของชุมชนก็ยาวนานเท่านั้น ดังเช่น
“พ่อเดินหาเครื่องแกงในป่า แต่เครื่องแกงเผ็ด แม่เตรียมมาให้จากบ้านแล้ว พ่อไปเก็บผัก
ป่าที่รู้จักมาได้หลายอย่าง มีชะพลู พริกป่าต้นใหญ่ที่เรียกว่าพริกนก ป่าบริเวณนี้มีพริกนกขึ้นอยู่
หลายต้น พริกนกบางที่ก็ขึ้นเอง เพราะนกกินเม็ดพริกสุกแล้วขี้ไว้ในป่า ทําให้มีต้นพริกป่าขึ้นทั่วไป