Page 208 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 208

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   207



                            พรานผู้ล่ารู้ดีว่าป่ามีทั้งความอุดมสมบูรณ์และภัยอันตราย แต่สิ่งที่พรานผู้ล่าในวรรณกรรมของวัธนา
                     บุญยังนําเสนอออกมา คือ ป่าไม้ถูกทําลาย ความอุดมสมบูรณ์กําลังหมดไป การล่าสัตว์เป็นกลวิธีวิพากษ์

                     ปัญหาป่าไม้ถูกทําลาย เพราะบทบาทของพรานผู้ล่าในวรรณกรรมของวัธนาสื่อปัญหาเรื่องการรุกเข้ามาของ
                     กิจการป่าไม้ โดยที่ชุมชนไม่มีสิทธิหรืออํานาจที่จะต่อต้าน ปกป้องสิทธิการจัดการทรัพยากรของชุมชนได้เลย
                     เช่น พรานหนู วิพากษ์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการตัดไม้ โดยเจ้าของสัมปทานที่ส่งผลต่อชุมชน ดังนี้


                                   “ลุงหนูนิ่งคิดอยู่พักหนึ่ง แล้วเอ่ยออกมาว่า   ป่าสัมปทานข้าก็เคยอยู่มาแล้ว ทาง
                            เพชรบูรณ์โน่น บริษัทเขาก็ไม่เห็นจะยุ่งอะไร ข้ายังหาของป่ามาขายได้เพียงแต่ป่ามันเตียน และมี

                            คนเข้าไปกวนมากเท่านั้นแหละ
                                   อย่างนั้นน่ะ มันของแน่อยู่แล้ว ที่สําคัญก็คือบริษัทที่มีเถ้าแก่วิชัยเป็นผู้จัดการเขตนี้ แก
                            เป็นคนเหี้ยมและไม่เคยเห็นใจใครทั้งสิ้น ได้ข่าวว่าแกจะตัดไม้ให้มากที่สุด พอป่าเตียน แกก็จับ

                            จองที่ดินเป็นเจ้าของที่ดินอีกทีหนึ่ง อีกไม่นานพื้นที่แถบนี้ก็เป็นของแกหมด พี่หนูลําบากแน่
                                   ไม่แต่ข้าหรอกที่ลําบาก สัตว์ป่าทั้งหลายก็จะพลอยสูญพันธุ์ไปด้วย ถ้าคิดจะทําลายล้าง
                            กันอย่างนั้นจริงๆ ข้าตัวคนเดียวกับเมียยังไม่เท่าไหร่ เป็นห่วงแต่ป่าเนื้อดีและสัตว์ป่าทั้งหลาย
                            แล้วของแบบนี้หมดไปแล้วก็หมดไปเลย หามาทดแทนกันได้ที่ไหน

                                   ถ้าบริษัทเขาคิดอย่างพี่หนูก็ดีซี นี่เขาไม่คิด ป่ามันถึงได้หมด…”
                                                                             (ใบไม้ร่วงในป่าใหญ่, 2531: 110-111)

                            ในฐานะนายพรานผู้ล่า การวิพากษ์ปัญหาสัมปทานป่าไม้ มีนัยว่าชุมชนรับรู้และตระหนักถึงสิทธิของ
                     ชุมชนแต่ไม่มีอํานาจต่อต้าน คัดค้าน สิ่งที่ชุมชนทําคือ ย้ายออกจากป่าที่เสื่อมโทรม เร่ร่อนหาป่าผืนใหม่ที่อุดม

                     สมบูรณ์ หรือชุมชนกลายเป็นคนงานตัดไม้ให้นายทุนเพื่อดํารงชีวิตอยู่ในบ้านในป่าผืนเดิมต่อไป พรานผู้ล่า
                     ของวัธนา บุญยังจึงนําไปสู่การวิพากษ์ปัญหาป่าไม้ เช่น


                                  “วันเวลาผ่านไป พรานหริ่งกับพวกยังคงใช้ชีวิตอยู่ในป่าลึกอย่างสงบสุข อาหารการกินก็
                            อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าก็ชุกชุมมีให้ล่าอย่างเหลือเฟือ แต่พรานหริ่งก็ไม่ได้ออกล่าทุกวัน ได้แต่กําชับ
                            คงกับจันอยู่เสมอว่า ให้ล่าแต่ที่จําเป็น เอาเนื้อมันมากินและขายเลี้ยงชีพ ไม่ให้ล่าแบบทําลายล้าง

                                   ...เราอาศัยป่าเป็นที่อยู่และอาศัยสัตว์ป่าเลี้ยงชีพ ก็ต้องมีความกตัญญูต่อมัน ต้นไม้ไม่
                            จําเป็นอย่าไปตัดไปโค่น สัตว์ที่ล่าก็อย่าล่าตัวเมียหรือลูกอ่อน มันจะได้แพร่พันธุ์กันต่อไป
                                    ลําพังพวกเราอยู่กันแค่นี้น่ะไม่เป็นไรหรอก ฉันกลัวว่าอีกไม่นานมีคนอื่นตามเข้ามาอยู่

                            ด้วย ทีนี้ล่ะมันจะไม่ล่าแบบพวกเรานะซี แล้วพี่หริ่งจะว่าอย่างไร จันถามขึ้น
                                    ถึงตอนนั้นจริงๆ เราคงทําอะไรไม่ได้ เพราะเราจะไปห้ามคนไม่ให้บุกป่าล่าสัตว์มันก็คง
                            เป็นไปไม่ได้ ทางการบ้านเมืองเขายังไม่มีปัญญาห้าม ข้าเห็นป่าสงวนโดนบุกรุกอยู่ทุกที่ไป เราไม่
                            อย่าไปเร่งให้มันเร็วขึ้นก็ยังดี
   203   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213