Page 214 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 214
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 213
สุนทรียะแห่งป่า: “ฉาก” กับภาพฉายวิถีชุมชน
วรรณกรรมของวัธนาให้ข้อคิดที่มีค่า
ต่อการดํารงชีวิต ทําให้เห็นคุณค่าของสรรพ
ชีวิตในธรรมชาติที่เกื้อกูลกัน ผู้ศึกษาพบว่า
การบรรรยายฉากในวรรณกรรมของวัธนาเป็น
กลวิธีที่น่าสนใจมากอีกประการหนึ่ง เพราะ
สามารถนําเสนอสารและแนวคิดหลักเรื่องการ
อนุรักษ์ธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฉาก
สามารถโน้มนําไปสู่การเรียนรู้และปลุก
จิตสํานึกเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติ การ
ตระหนักถึงคุณค่าธรรมชาติได้ เพราะภาพธรรมชาติที่งดงามน่าประทับใจ การบรรยายฉากในวรรณกรรมหาก
ถ่ายทอดผ่านภาษาที่สละสลวย จะก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจและก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมได้ (สุจิตรา
จงสถิตย์วัฒนา, 2548: 1) ในวรรณกรรมของวัธนาการบรรยายฉากและบรรยากาศในป่า ตลอดจนภาพสิ่งมีชีวิต
ทั้งคนและสัตว์เป็นภาพธรรมชาติที่ถ่ายทอดผ่านภาษาวรรณศิลป์ ก่อให้เกิดจินตภาพและมีผลต่ออารมณ์
ความรู้สึกของผู้อ่านอย่างน่าประทับใจ สุนทรียะจากภาษาที่วัธนาใช้บรรยายฉากมีพลังต่อผู้อ่านนอกจากจะ
สร้างบรรยากาศและทําให้เรื่องแนวผจญภัยในป่ามีความสมจริงตื่นเต้นเร้าใจแล้ว ความสามารถในการเลือกสรร
คํา ภาษาที่กระชับชัดเจนก่อให้เกิดจินตภาพ ยังทําให้วรรณกรรมของวัธนามีคุณค่าในเชิงวรรณศิลป์อีกด้วย
เช่น
“แสงแดดเริ่มเฉียงทํามุมกับขอบฟ้า ทําให้แนวต้นไม้เป็นเงายาวราวงูเลื้อย แม้ดวงอาทิตย์
จะคล้อยต่ําลง แต่ความร้อนที่ระอุมาตลอดวัน หาได้ราแรงลงไม่ พื้นดินทรายและก้อนหินใหญ่ สะสม
ความร้อนไว้เต็มที่ และจะยังคงระอุไปไม่ต่ํากว่าเที่ยงคืน ตกค่อนรุ่งเมื่อน้ําค้างพร่างพรม จึงจะยะเยือก
เย็นลงผิดกันจากหน้ามือเป็นหลังมือ ท้องฟ้าที่สดใสสูงลิ่ว เริ่มมัวหม่นครื้มดําด้วยเมฆก้อนใหญ่ ส่วน
ยอดของมันแผ่ขยายแตกกิ่งเป็นช่อราวดอกกะหล่ํา ส่วนล่างของก้อนเมฆมีสีคล้ําขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อ
ดวงอาทิตย์ต่ําลงใกล้จะลับทิวไม้ ก็มีแสงฟ้าแลบแปลบปลาบขึ้นที่ฐาน พร้อมกับเสียงคํารามหนักแน่น
แว่วมาแต่ไกล สายลมที่หยุดนิ่งอบอ้าวมานาน ก็เริ่มจะเคลื่อนไหว พาให้กิ่งไม้สูงสั่นระริกเกรียวกราว
ใบไม้แห้งตามพื้นวิ่งไล่ตามกันเสียงกรอบแกรบระงมป่า เมฆหัวขยายตัวเป็นแผ่นปกคลุมทั่วท้องฟ้า
พร้อมกับแสงฟ้าแลบส่งเสียงคํารามตามติดมา ดวงอาทิตย์ลับลงไปแล้วฟ้าแลบคราใดเห็นแต่ต้นไม้สี
น้ําตาลดํา ยืนทะมึนทาบกับท้องฟ้าสีเขียวปัด ไม่นานต่อมา เสียงเปาะแปะของเม็ดฝนก็ตกต้องพื้นป่า
เม็ดฝนลงหนาขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นสีขาวพร่างยามต้องแสงฟ้าแลบ ทันใดนั้นพื้นดินที่แห้งผาก ได้น้ําฝน