Page 212 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 212
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 211
ในการพัฒนาชุมชน ในฐานะกลไกการต่อสู้เพื่อการพิทักษ์สิทธิแห่งมนุษยชน คือพิทักษ์วิถีชีวิต ภูมิปัญญาและ
ทรัพยากรทางธรรมชาติได้มากขึ้น (ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, 2542: (18))
ด้วยอัตลักษณ์ของนายพรานในวรรณกรรมของวัธนา ที่เป็นทั้งผู้รู้แห่งป่าและผู้ล่าที่มีจิตสํานึกในการ
อนุรักษ์ จึงทํานายพรานสามารถนําเสนอสารและนําผู้อ่านไปสู่แนวคิดหลักของเรื่อง โดยเฉพาะความคิดส่วน
ที่ว่าด้วย ธรรมชาติคือผู้ก่อกําเนิดสรรพชีวิต นอกจากนี้ในวรรณกรรมทั้ง 5 เรื่อง มีคําพูดของนายพรานอยู่ชุด
หนึ่งที่น่าสนใจเพราะชี้ให้เห็นว่า การสร้างตัวละครในวรรณกรรมของวัธนา มีนัยสําคัญที่สื่อให้เห็นความผูกพัน
ระหว่างคนกับป่าได้ ดังนี้
3. วาทกรรมของพราน “เราไม่ล่าสัตว์แม่ลูกอ่อน”
วาทกรรมของนายพรานเรื่อง “พรานไม่ล่าสัตว์แม่ลูกอ่อน” สะท้อนแนวคิดเชิงอนุรักษ์ โดยเฉพาะ
การคํานึงถึงห่วงโซ่ความสัมพันธ์ของชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศ คําพูดชุดนี้สอดคล้องกับมโนทัศน์วรรณกรรม
วิจารณ์เชิงนิเวศสํานึกแบบดั้งเดิมเรื่อง “ชีวิตสัมพันธ์และสมดุลของระบบนิเวศ” คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง
สิ่งมีชีวิตหนึ่งกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แนวคิดเรื่องชีวิตสัมพันธ์ เป็นจิตสํานึกเชิงนิเวศที่อิงอยู่กับศีลธรรม ซึ่งมนุษย์ใน
อดีตรับรู้และเข้าใจถึงห่วงโซ่ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ไม่วาจะเป็นมนุษย์ พืช หรือสัตว์น้อยใหญ่ เป็นผลรวม
ของประสบการณ์ในการเรียนรู้ ทําความเข้าใจระหว่างมนุษย์กับโลกธรรมชาติ ที่สร้างสมจากคนรุ่นหนึ่ง
ถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นหนึ่ง อันเป็นส่วนหนึ่งขององค์ความรู้ดั้งเดิมของคนในท้องถิ่นในแต่ละวัฒนธรรมหรือ
แต่ละกลุ่มชน (ธัญญา สังขพันธานนท์ 2553: 141) วาทกรรมที่ว่านายพรานไม่ล่าสัตว์แม่ลูกอ่อนนี้ พบใน
วรรณกรรมของวัธนาเสมอ มักเป็นตอนที่พรานผู้มีอาวุโสถ่ายทอดวิชาและจิตวิญญาณของการเป็นายพรานให้
คนหนุ่มรุ่นต่อไป หลักการสําคัญที่นายพรานย้ําเสมอ คือ พรานแท้ต้องล่าสัตว์เพื่อการดํารงชีพและเคารพใน
คุณค่าของสรรพชีวิต เช่น
“เกือบตลอดชีวิตที่อยู่ในป่า ล่าสัตว์มากินและขายก็มากมาย ไม่เคยมีครั้งใดเลยที่ยิงสัตว์
แม่ลูกอ่อน แม้บางครั้งจะอดเพียงใดก็ตาม ชีวิตในวัยเยาว์บริสุทธิ์น่ารัก ไม่ว่าคนหรือสัตว์ควรจะ
ปล่อยให้ความบริสุทธิ์ไร้เดียงสานั้นได้มีโอกาสอยู่ประดับโลกและป่าดงให้มากที่สุด คนอย่างแกไม่
เคยเข้าโรงเรียนที่ไหนแต่รู้ด้วยสามัญสํานึกว่า การทําลายสัตว์แม่ลูกอ่อนเป็นการทําลายวิญญาณ
แห่งป่าดงดิบให้สิ้นไป ตลอดชีวิตอันยาวนานป่าเป็นผู้ให้ทุกสิ่งมาตลอด จึงถือเป็นหน้าที่ที่ต้อง
รักษาป่าไว้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทําได้”
(ใบไม้ร่วงในป่าใหญ่, 2531: 78)
คําพูดซ้ําๆ ชุดของนายพรานในวรรณกรรมของวัธนาเน้นให้เห็นว่า การที่สัตว์ป่าถูกล่าอย่างไม่
สมควรเพื่อความสนุกบันเทิงใจนั้นเป็นพฤติกรรมทําลายธรรมชาติ ทําลายระบบนิเวศ ในวรรณกรรม
พฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมของตัวละครกลุ่มนายทุน หรือข้าราชการผู้ดีฐานะจาก “เมืองกรุง” หรือลูกจ้างตัดไม้