Page 216 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 216
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 215
สิ่งที่น่าสนใจคือ ภาพธรรมชาติและวิถีชุมชนที่ปรากฏในวรรณกรรมของวัธนา บุญยังสอดคล้องกับ
สิ่งที่นักวิชาการที่ศึกษากรณีป่ากับชุมชนไว้มากมายได้อธิบายไว้ เช่น เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ (2540: ไม่ปรากฏ
เลขหน้า) ให้ความคิดเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับระบบนิเวศป่าในท้องถิ่นเช่นที่กล่าวไว้ใน
เอกสารข่าวสารป่ากับชุมชน ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจําเดือนกันยายน ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างป่ากับชุมชนจะ
ราบรื่นและยาวนานเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของชุมชนเป็นสําคัญ ชุมชนล่มสลายป่าก็หมด ป่า
หมดชุมชนก็ล่มสลาย ความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างป่ากับชุมชนจึงเป็นที่รับรู้กันมานาน ดังนั้นเพื่อสร้างกลไก
การบริหารจัดการป่าที่เหมาะสม จึงต้องมีการพัฒนาองค์กรชุมชนสร้างแผนการจัดการนิเวศป่าชุมชน โดย
ชุมชนเป็นผู้ทําแผนการจัดการนิเวศป่าชุมชนจะช่วยให้เห็นภาพรวมของป่าทั้งผืน ทําให้รู้จักเข้าใจและเห็น
คุณค่าป่าผืนใหญ่ ขณะเดียวกันก็จะช่วยให้มองเห็นระบบนิเวศย่อยๆ ในระบบนิเวศป่าผืนใหญ่ เช่น ที่สูงเป็น
ป่าดิบเขา ที่โคกเป็นป่าโคก หนองน้ําหรือที่น้ําท่วมขังเป็นฤดูกาลก็มีป่าพรุหรือป่าบุ่งป่าทามขึ้นอยู่ ที่ดินตื้นมี
กรวดหินมากอากาศแห้งแล้งก็มีป่าเต็งรังขึ้น หากมีดินหนาขึ้นมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้นมาสักหน่อยก็จะมีป่าเบญจ
พรรณหรือป่าดิบแล้ง เป็นต้น ดังนั้นหากรู้จักระบบนิเวศดีพอ รู้จักเนื้อหาองค์ประกอบของระบบนิเวศที่มีอยู่
ในป่า รู้จักกฎเกณฑ์หน้าที่ตามธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่ร่วมกันในป่า รู้ถึงผลกระทบและรู้จักจัดการกับ
ผลกระทบจากการเก็บเกี่ยวใช้ประโยชน์สรรพสิ่งจากระบบนิเวศ และตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้ คนกับระบบนิเวศ
ก็จะอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ทําลายซึ่งกันและกัน คนไม่ทําลายป่าและป่าก็จะไม่ทําลายคน
สรุป
แม้ว่าศาสตร์แห่งวรรณกรรมจะไม่ได้มีบทบาทหน้าที่โดยตรงในการวิพากษ์ปัญหาเรื่องสิทธิการ
จัดการทรัพยากรหรือปัญหาเรื่องป่าชุมชน แต่ผู้ศึกษาก็ได้ประจักษ์อยู่ตลอดว่าวรรณกรรมทําหน้าที่กระตุ้น
เตือนให้สังคมฉุกคิดได้ทุกปัญหาที่รายรอบตัวเรา ทั้งปัญหาใหญ่อย่างสิ่งแวดล้อม ปัญหาสิทธิมนุษยชน ปัญหา
ทางการเมือง ปัญหาครอบครัว ดังนั้นการอ่านวรรณกรรมอย่างลุ่มลึกจึงช่วยทําให้เราเข้าใจโลก เช่น การอ่าน
วรรณกรรมด้วยกรอบการวิจารณ์วรรณกรรมเชิงนิเวศที่บูรณาการศาสตร์แขนงต่างๆ เช่น วรรณกรรมศึกษา
ต้องเป็นทั้งนักคติชนวิทยา นักประวัติศาสตร์ นักวัฒนธรรมศึกษา นักนิเวศวิทยาและอีกมากมาย ด้วยเหตุนี้
การวิจารณ์วรรณกรรมเชิงนิเวศจึงน่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่นักวรรณกรรมเสนอมาเพื่อช่วยไขปัญหาและ
ทางออกในเรื่องสิ่งแวดล้อม รวมถึงเรื่องสิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากรด้วย
การอ่านวรรณกรรมและวิจารณ์วรรณกรรมเชิงนิเวศจะช่วยให้เราเข้าใจเรื่องราวที่เกี่ยวกับผืน
แผ่นดินที่เราอาศัยอยู่ เมื่อนํากรอบวิธีคิดการวิจารณ์วรรณกรรมเชิงนิเวศมาพิจารณาวรรณกรรมของวัธนา
บุญยัง จึงพบว่างานเขียนกลุ่มนี้เป็นวรรณกรรมเชิงนิเวศที่มีลักษณะเด่น คือ ผู้แต่งนําเสนอภาพของธรรมชาติ
โดยใช้ป่าใหญ่ไพรกว้างเป็นตัวแทนของธรรมชาติ “ป่า” คือฉากในวรรณกรรมของวัธนา ตัวละคร “นายพราน”
คือผู้เชื่อมประสานความสัมพันธ์ระหว่างคนกับป่าและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เมื่ออ่านวรรณกรรมของวัธนา