Page 211 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 211

210      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                       “เกือบตลอดชีวิตที่อยู่ในป่า ล่าสัตว์มากินและขายก็มากมาย ไม่เคยมีครั้งใดเลยที่ยิงสัตว์แม่ลูก
                       อ่อน แม้บางครั้งจะอดเพียงใดก็ตาม ชีวิตในวัยเยาว์บริสุทธิ์น่ารัก ไม่ว่าคนหรือสัตว์ควรจะปล่อย
                       ให้ความบริสุทธิ์ไร้เดียงสานั้นได้มีโอกาสอยู่ประดับโลกและป่าดงให้มากที่สุด คนอย่างแกไม่เคย

                       เข้าโรงเรียนที่ไหนแต่รู้ด้วยสามัญสํานึกว่า การทําลายสัตว์แม่ลูกอ่อนเป็นการทําลายวิญญาณแห่ง
                       ป่าดงดิบให้สิ้นไป ตลอดชีวิตอันยาวนานป่าเป็นผู้ให้ทุกสิ่งมาตลอด จึงถือเป็นหน้าที่ที่ต้องรักษา
                       ป่าไว้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทําได้”
                                                                                 (ใบไม้ร่วงในป่าใหญ่, 2531: 78)


                       ดังนั้นแม้มิได้ตัดสินให้ชัดเจนลงไปว่า สภาพป่าที่เปลี่ยนแปลงไปแท้จริงเป็นเพราะใคร แต่เขาได้ฉาย
                ให้เห็นความขัดแย้งทางความคิดและการกระทําทั้งของรัฐและชุมชน แม้ภาพในวรรณกรรมในบางส่วนทําให้

                เห็นว่าการกระทําของชุมชน เช่น ชุมชนเป็นผู้แผ้วถางป่า นายพรานล่าสัตว์ แต่แท้จริงพิบัติภัยที่รุนแรงที่จะ
                เกิดขึ้นกับป่าตามที่วัธนาเผยให้เห็นคือ การให้สัมปทานป่าเพื่อทํากิจการตัดไม้ สิ่งที่นายพรานเห็นและเล่า

                ออกมานั้นเป็นการยืนยันว่า อุตสาหกรรมป่าไม้ การชักลากไม้คือหายนะแห่งป่าอย่างแท้จริง การรุกล้ํา แผ้ว
                ถางป่า และล่าสัตว์เพื่อความสนุกเกิดขึ้นเพราะการเข้ามาของอุตสาหกรรมนี้เอง เช่น


                       “ไม่เพียงแต่ลุงอินกับหนานจันเท่านั้น ที่วิตกกังวลกับการตัดไม้บนดอย ชาวบ้านอีกหลายคนก็ไม่
                       สบายใจนัก เพราะมันเหมือนกับการปล้นผืนป่าที่อาศัยของเขา ผลกระทบจะตกถึงคนในหมู่บ้านไม่

                       ช้าก็เร็ว หมู่นี้คนแปลกหน้าสะพายปืนเดินผ่านหมู่บ้านขึ้นไปบนดอยบ่อยๆ แถมพวกที่ไปเป็น
                       ลูกจ้างเขาก็บอกว่า ใครเอาข่าวเรื่องตัดไม้ไปแพร่งพราย พวกนั้นขู่ว่าจะเก็บหมกป่าให้หมด หลาย
                       คนภาวนาให้ฝนมาเร็วๆ การลักลอบตัดไม้จะได้หยุดเสียที เพราะถ้าฝนลงหนัก ป่าทึบและเขาสูง

                       อย่างนี้ ไม่มีใครทนทําไม้อยู่ได้”
                                                                               (หอมกลิ่นป่า, 2542: 46-47)

                       น้ําเสียงที่เข้มขึ้นเพราะความเจ็บปวด เมื่อกล่าวถึงธุรกิจตัดไม้ที่รัฐหรือนายทุนได้สัมปทานเข้าไปตัด

                ไม้ กระบวนการชักลากไม้ออกจากป่าเหล่านี้เป็นสิ่งที่ย้ําให้เห็นว่า ปัญหาป่าไม้และการละเมิดสิทธิในการ
                จัดการทรัพยากรของชุมชนมีสาเหตุมาจากสิ่งใด ในด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลให้พื้นที่ป่าหายไปอย่างรวดเร็ว การ

                ชักลากไม้ให้สะดวกรวดเร็วนั้นจําเป็นต้องสร้างถนน สําหรับรถบรรทุกหรือสร้างรางรถไฟบรรทุกท่อนไม้
                ออกมาจากกลางป่าลึก รัฐและนายทุนได้กําไรจากการดําเนินธุรกิจสัมปทานไม้อย่างมากมาย แต่ชุมชนสูญเสีย

                ที่ทํากิน บ้านเรือน จิตวิญญาณของชุมชน ถูกลบหลู่ทั้งเรื่องความเชื่อและภูมิปัญญาที่เป็นมรดกและอัตลักษณ์
                ของกลุ่ม เพราะอํานาจที่ด้วยกว่าและความต้องการอยู่รอด ทําให้ชุมชนไม่สามารถต่อสู้กับรัฐหรือนายทุนได้

                ยิ่งความขัดแย้งในกระบวนการจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติมีมากขึ้นเท่าใด สิทธิของชุมชนก็จะถูกทําให้
                สั่นคลอนมากขึ้นเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่งปัญหาเหล่านี้จะกลายเป็นที่มาของการให้ความสําคัญ
   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216