Page 210 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 210
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 209
พริกนกบางต้นก็จะขึ้นตามที่พักเก่าหรือหมู่บ้านร้างของชาวป่า อย่างบริเวณที่เราพักกันนี้ เป็นแหล่ง
น้ําที่เคยมีคนมาพักบ่อยๆ พริกที่คนทิ้งไว้ได้น้ําดีก็งอกงาม”
(หอมกลิ่นป่า, 2542: 131)
(2) ปัญหาเรื่องสิทธิการจัดการทรัพยากร สิทธิชุมชนเป็นปัญหาที่เกิดจากฝ่ายรัฐ โดยเฉพาะเรื่อง
อํานาจรัฐ ในฐานะที่รัฐเป็นผู้ควบคุมและจํากัดสิทธิของชุมชน และทําให้วิถีชุมชนเปลี่ยนแปลงไป ตามภาพที่
ปรากฎในวรรณกรรมของวัธนา แม้เขาไม่ได้กล่าวถึงโดยตรงว่า รัฐคือผู้ร้าย แต่ภาพของรัฐคือ ผู้นําปัญหามาสู่
ชุมชนและป่าเสมอ ตัวอย่างปัญหาที่ร้ายแรงที่สุด คือ รัฐมีการบริหารแบบสองมาตรฐาน คือ เอื้อประโยชน์ให้
ฝ่ายรัฐและนายทุน แต่ใช้อํานาจกดดันชุมชน เมื่อชุมชนขัดขืนหรือทําอย่างนายทุน คือ ตัดไม้ รัฐก็ใช้อํานาจที่
เหนือกว่าเข้าไปจัดการ รัฐให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมป่าไม้มอบสัมปทานที่เอื้อให้เกิดการถางป่า รุกล้ําเขต
ป่าสงวน จัดสรรที่ดิน ดําเนินธุรกิจที่พักตากอากาศได้ แต่ชุมชนถางป่าเพื่ออยู่อาศัยไม่ได้เช่นนี้ วัธนาได้
วิพากษ์ไว้ในวรรณกรรมของเขา เช่น
“งานตัดไม้ในป่ายังเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ป่าที่เคยทึบทะมึนไร้ร่องรอยของผู้คนเหยียบ
ย่ํา มีแต่รอยเท้าสัตว์ป่าเล็กและใหญ่ท่องเที่ยวหากินไปทั่ว จะมีบ้างก็พรานไพรใจกล้าไม่กี่คนที่ดั้น
ด้นไปหาล่าสัตว์ใหญ่ในไพรทึบ แต่เมื่องานตัดไม้บุกเข้ามา ป่าใหญ่ก็ไร้พรหมจรรย์อีกต่อไป ไม้
ใหญ่ที่ถูกตัดโค่นกองทับถมรอเวลาชักลากออกไปลงเรือ ไม้เล็กไม้น้อยพลอยถูกตัดฟัน ถากถาง
เป็นทางให้แทรกเตอร์และรถซุงเข้าพอมีทางเข้ามากลางป่าผู้คนก็พากันมาตัดหวาย หาของป่า
โดยเฉพาะไม้ไผ่ที่มีมากมายในป่าลึก ชาวบ้านพากันมาตัดไม้ไผ่เลี้ยงต้นงามๆ ไร้หนามคม บรรทุก
เกวียนออกไปขายให้พวกทําโป๊ะ...
ไม่ต้องพูดถึงสัตว์ป่าที่ถูกล่าอยู่ทุกวัน ทั้งจากคนงานทําไม้เองที่ต้องล่าสัตว์มาเป็นเสบียง
คนงานส่วนมากมีเพียงปืนแก๊ปหรือปืนลูกซองเดี่ยว แต่อาศัยความชํานาญในพื้นที่ทําให้สัตว์เล็ก
อย่าง เก้ง กระจงหรือหมูป่าถูกล่ามากินแทบทุกวัน ไม่นับพวกพรานบรรดาศักดิ์ที่เป็นเจ้านายจาก
เมืองกรุง หรือพ่อค้า นายตํารวจและทหารแม้กระทั่งฝ่ายศาลและตุลาการทั้งหลาย ล้วนชอบใช้
ชีวิตผจญภัยในป่า โดยมีบรรดาพรานพื้นบ้านจัดการให้ทุกอย่าง ทั้งการนําทาง ไล่ล่าและจัดหา
เสบียงอาหาร การล่าสัตว์ป่าถือเป็นเกมกีฬาของพวกผู้ดีมีสกุล เป็นเรื่องโก้เก๋ของคนรวยมี
สตางค์”
(รางเหล็กในป่าลึก, 2552: 139-140)
วัธนา บุญยัง ชี้ให้ปัญหาเรื่องสิทธิการจัดการทรัพยากรผ่านวิถีของนายพราน ทําให้เห็นว่าวิถีชุมชนคือ
วิถีแห่งการอนุรักษ์ที่ยั่งยืน ชุมชนจะเคารพป่าและตระหนักดีว่า ป่าเป็นที่พึ่งพา ป่ามีความสําคัญต่อการยังชีพ
ของพวกเขามากเพียงใด ตัวอย่างเช่น จิตสํานึกของลุงสุข พรานในเรื่อง ใบไม้ร่วงในป่าใหญ่ ที่กล่าวว่า