Page 207 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 207
206 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
รังแกสัตว์ อดอยากก็หายิงมากินได้ อย่าล่ากันอย่างล้างผลาญ ตัวอ่อนตัวเมียอย่าไปทํามัน ข้า
ขอร้องเอ็งแค่นี้ ทําได้หรือเปล่าล่ะ” พรานหริ่งถามเสียงเครียด
“ฉันรับรองข้อนั้น ต่อไปนี้จะเชื่อพี่หริ่งอีกคน เราจะพยายามไม่รบกวนสัตว์ของพี่”
(พรานคนสุดท้าย, 2534: 58)
นอกจากนี้วัธนายังใช้ตัวละครนายพรานเป็นกระบอกเสียงแทนธรรมชาติและชุมชนในป่า บทบรรยาย
ที่ถ่ายทอดผ่านบทสนทนาหรือคําพูดนายพรานเป็นกลวิธีเล่าเรื่องที่ทําให้คนอ่านเข้าใจ ตระหนักรู้ถึงสภาพ
ธรรมชาติและวิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ในป่า บทบาทของนายพรานในวรรณกรรมของวัธนา คือ ผู้มีความ
เชี่ยวชาญ มีความสามารถในการหาเลี้ยงชีพ ชาวบ้านได้อาศัยพึ่งพา เพราะนายพรานมีมุมมองที่ลึกซึ้งกว้างไกล
จึงเข้าใจความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้น ที่สําคัญนายพรานกลายเป็นตัวเชื่อม (mediator) ระหว่างความต่าง
ทั้งหลาย เช่น พื้นที่ ในป่า/นอกป่า คนใน/คนนอกชุมชน ดังนั้นบางครั้งนายพรานคือกระบอกเสียงของคนในป่า
และบางครั้งนายพรานก็นําสารจากคนนอกเข้ามาสู่ชุมชน การนี้ทําให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้และปรับตัวรับความ
เปลี่ยนแปลงต่างๆ รวมถึงอิทธิพลจากภายนอกที่มีผลต่อชุมชนและสภาพป่าไม้
วิถีแห่งพรานผู้รู้ในวรรณกรรมของวัธนาทําให้เกิดเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างคนกับป่า นายพราน
สามารถเชื่อมโยงผู้คนเข้าสู่วิถีแห่งป่าและสร้างสํานึกรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการวิพากษ์ปัญหาป่า
ของนายพรานเป็นการสร้างสํานึกร่วมให้แก่ชุมชนให้เห็นความสําคัญของการอนุรักษ์ป่าและเคารพวิถีแห่งป่า
ถ้าไม่มีป่าก็จะดํารงชีวิตอยู่ไม่ได้ พรานผู้รู้คือกลวิธีที่วัธนาใช้สื่อสารสําคัญว่า ชุมชนรักษาป่าให้ยั่งยืนได้เพราะ
พวกเขาเข้าใจวิถีแห่งป่า
2. พรานผู้ล่า
นอกจากนายพรานจะเป็นผู้รู้และเข้าถึงวิถีแห่งป่า ในอีกทางหนึ่งนายพรานคือ “ผู้ล่า” บทบาท
พรานผู้ล่าในวรรณกรรมของวัธนานั้นมีลักษณะเด่นที่น่าสนใจ คือ นายพรานผู้ล่าของวัธนาไม่เข้าป่าล่าสัตว์
เพื่อความสนุกสนาน พรานผู้ล่าของวัธนา บุญยังล่าสัตว์เพื่อการยังชีพและช่วยเหลือคนในชุมชนที่เดือดร้อน
เช่น
“ร่างลายพร้อยใหญ่ยาวกระชากกลับ สะบัดรัดร่างของพรานเฒ่าอย่างรวดเร็วต่อหน้าต่อ
ตา ชายหนุ่มตั้งสติได้ดีมาก เขาจ่อปืนลงไปยังร่างของพญางูยักษ์ ที่รัดเหยื่อของมันกลิ้งม้วนไปมา แต่
ไม่สามารถลั่นไกได้ เพราะมันรัดร่างของพรานแพแน่น พรานเก่าที่มากด้วยประสบการณ์ป่าอย่าง
พรานแพ ไม่ยอมเสียเปรียบใครง่ายๆ แม้จะถูกมันตกลงมาฟาดใส่หัวจนมึน พอล้มลงก็ถูกตวัดรัดจน
แน่น แกยังมีสติไม่ยอมให้มันรัดแขนเข้าไปด้วย มือขวาที่ถือมีด สปาต้าร์คมกริบจึงฟาดฟันลงไปที่คอ
มันถี่ยิบ”
(ไพรมืด, 2546: 129)