Page 206 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 206
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 205
จากเรื่อง ใบไม้ร่วงในป่าใหญ่ พรานเนียน จากเรื่อง หอมกลิ่นป่า พรานแพ จากเรื่อง ไพรมืด พรานหริ่ง จาก
เรื่อง พรานคนสุดท้าย และ เชี่ยว นายพรานหนุ่มใหญ่ จากเรื่อง รางเหล็กในป่าลึก เป็นต้น
วัธนา บุญยังสร้างตัวละคร “พรานผู้รู้” ให้เป็นตัวแทนของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
ตัวละครนายพรานจะทําหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดปัญหาและแสดงความเป็นไปของธรรมชาติ นายพรานของวัธนา
สามารถเชื่อมโยงสภาพธรรมชาติในอดีตและฉายภาพความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งในป่าได้อย่างผู้รู้แจ้ง
ดังนั้นการเล่าเรื่องแบบบุรุษที่ 3 ที่ผู้แต่งถ่ายทอดความนึกคิดและกระทําของตัวละครนายพราน จึงเป็นกลวิธี
ที่ทําให้ผู้อ่านเห็นภาพธรรมชาติได้ทันทีและมีน้ําหนักน่าเชื่อถือ ด้วยตรรกะเกี่ยวกับนายพราน (คือผู้เชี่ยวชาญ
แห่งพงไพร) ย่อมส่งผลให้สิ่งที่นายพรานพบเห็นและบรรยายออกมานั้นสมจริงและน่าเชื่อถือ กลวิธีนี้จึงมีพลัง
โน้มน้าวใจผู้อ่านได้อย่างดี ตัวอย่างเช่น
“อากาศเริ่มร้อนจัดขึ้นทุกวัน แลไปทางไหนก็เห็นแต่ไม้ยืนต้นโกร๋น มีไม้ที่ไม่ผลัดใบสลับ
อยู่บ้างแต่ก็หงอยเหงาเต็มที ผืนป่าที่เคยมีน้ําชุ่มฉ่ําเมื่อหน้าฝน บัดนี้กลับแห้งผากและร้อนระอุ ลํา
ห้วยลําธารที่เคยมีน้ําหล่อเลี้ยงแห้งเหือดเกือบหมด...
ลุงหนูเห็นสภาพความแห้งแล้งของป่าแล้วไม่สบายใจ เพราะมันแล้งนานอย่างนี้ สิ่งที่จะ
ตามมาคือ ไฟป่า ซึ่งหมายถึงหายนะของสิ่งทั้งมวลในป่าก็ว่าได้ วันหนึ่งจึงพูดขึ้นว่า วันนี้อย่าเพิ่งทํา
อะไรเลย มาช่วยกันถางหญ้า เก็บกวาดใบไม้รอบบ้านให้เตียนก่อนเถอะ ข้าสงสัยว่ามันจะมีไฟป่า
ตอนบ่ายๆ มันร้อนจนใบไม้แห้งเกือบจะติดไฟอยู่แล้ว”
(ใบไม้ร่วงในป่าใหญ่, 2531: 98)
ความเข้าใจวิถีแห่งป่าเป็นภูมิปัญญาที่สั่งสมจากการเรียนรู้ชีวิตในป่า ลุงหนูเห็นสภาพป่าก็สามารถ
คาดการณ์ได้ทันที่ว่าจะเกิดสิ่งใดตามมา เช่น “นึกแล้วเชียว ป่ามันแห้งกรอบเหลือเกิน ในที่สุดมันก็มาจริงๆ...
คืนนั้นทุกคนนอนฟังเสียงไม้ไผ่แตกโป้งป้างอยู่จนดึก บางครั้งก็ได้กลิ่นควันไฟจางๆ ลอยมาตามลม แต่ไฟป่าก็
ยังไม่มีทีท่าว่าจะมาใกล้...” (ใบไม้ร่วงในป่าใหญ่, 2531: 99)
นายพรานคือผู้รู้จริงและเข้าใจวิถีของป่าหรือสัตว์ป่าอย่างถ่องแท้ พรานหริ่ง ในเรื่อง พรานคนสุดท้าย
กลายเป็นปราชญ์แห่งชุมชนและเป็นผู้นําชุมชนที่สอนให้เข้าใจวิถีธรรมชาติ ป่า และสิ่งมีชีวิต ดังนั้นไม่ว่าภาพ
ธรรมชาติจากมุมมองของพรานหริ่งจะถูกบรรยายออกมาในลักษณะใดภาพนั้นย่อมมีความหมาย ด้วยเหตุนี้
วัธนาจึงส่งสารสําคัญ (message) เกี่ยวกับการอนุรักษ์และดูแลป่าสู่ผู้อ่านผ่านปากของนายพราน เช่น
“ถ้าอยากจะอยู่ที่นี่ด้วยกันก็เอา ป่าออกกว้างข้าไม่ขวางไม่หวงหรอก แต่อยู่ด้วยกันก็ต้อง
เชื่อฟังกัน ยามมีภัยต้องช่วยเหลือกัน อย่ามาข่มเหงรังแกกันเอง อ้อ แล้วอีกอย่างพวกข้าเป็น
พราน ไม่ชอบถางป่า พวกเอ็งจะปลูกข้าวปลูกมันก็ทําไปแต่อย่าถางป่าเกินจําเป็น อีกอย่างอย่า