Page 205 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 205

204      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                       ประเด็นที่ผู้เขียนบทความค้นพบเมื่อนํามโนทัศน์วรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศและมโนทัศน์เรื่องสิทธิ
                ชุมชนมาเป็นแนวทางหลักในการอ่านวรรณกรรมของวัธนา บุญยัง คือ “กลวิธีการนําเสนอสารและแนวคิดหลัก

                ผ่านตัวละครและฉาก” ดังจะอธิบายในลําดับต่อไปนี้

                  “วิถีของพราน”: จากบทบาทหน้าที่อันย้อนแย้งสู่การสร้างจิตสํานึกเรื่องธรรมชาติ
















                       หลังจากพิจารณาตัวบทวรรณกรรมทั้ง 5 เรื่องเป็นนวนิยายแนวผจญภัย นวนิยายแนวนี้องค์ประกอบที่

                สําคัญอย่างหนึ่ง คือ ตัวละคร เพราะเป็นผู้ออกเดินทางไปประสบเหตุการณ์ต่างๆ วรรณกรรมทั้งหมดที่นํามา
                ศึกษา ผู้เขียนบทความพบว่าตัวละครนายพราน มีบทบาทโดดเด่นที่สุด มีบทบรรยายลักษณะตัวละครนายพราน

                ไว้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะการบรรยายที่แสดงให้เห็นวิถีชีวิตนายพรานและความเชี่ยวชาญเรื่องพงไพร
                ภาพลักษณ์ของตัวละครนายพรานในวรรณกรรมของวัธนามีหลากหลาย เป็นผู้รู้แห่งป่า เป็นผู้นําทางและเป็น

                วีรบุรุษหรือหัวหน้าชุมชน เช่น บทบาทของ พรานหริ่ง ในเรื่อง พรานคนสุดท้าย พรานหริ่งเป็นผู้รู้และเชี่ยวชาญ
                การล่าสัตว์จึงได้รับการยอมรับเชื่อถือจากทุกคน เพราะพรานหริ่งเป็นพรานที่เข้าใจวิถีแห่งป่ามากที่สุด องค์

                ความรู้ของพรานหริ่งเป็นภูมิปัญญาที่น่าสนใจ จึงเป็นทั้งพรานผู้รอบรู้และผู้นําทางความคิดให้แกชุมชน เป็นต้น
                ประเด็นที่น่าสนใจที่สะท้อนจากตัวละครนายพรานกล่าวโดยลําดับได้ดังต่อไปนี้

                       1. พรานผู้รู้
                       นายพรานเป็นบุคคลที่มีองค์ความรู้และเข้าใจวิถีของป่ามากที่สุด การถ่ายทอดเรื่องราวผ่านตัวละคร

                นายพรานจึงมีนัยสําคัญ ในวรรณกรรมของวัธนา เขากําหนดให้ตัวละครนายพรานเป็นผู้สะท้อนให้เห็นปัญหา
                ป่าไม้ สัตว์ป่าและปัญหาเรื่องสิทธิชุมชม แม้นายพรานจะเป็นนักล่าแต่ การล่าสัตว์ในวรรณกรรมของวัธนา

                เป็นการแสดงออกถึงวิถีชุมชน ภูมิปัญญาของคนท้องถิ่น และการดํารงอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับป่า ไม่ใช่การ
                ล่าสัตว์ในความหมายของเกมกีฬาอย่างที่คนเมืองเข้าใจ วิถีพรานและวิถีชุมชนที่ดํารงอยู่อย่างสงบและเป็นไป

                ตามกลไกของธรรมชาติจะสิ้นสุด เมื่อนายรัฐหรือทุนใหญ่เจ้าของสัมปทานป่าเข้ามาดําเนินกิจการตัดไม้ ลักษณะ
                ตัวละครนายพรานและปมขัดแย้งนี้ ปรากฎเสมอในวรรณกรรมของวัธนา จึงเป็นกลวิธีที่น่าสนใจ เช่น ลุงหนู
   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210