Page 204 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 204
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 203
ในภาคเหนือมีประมาณ 1,000 ชุมชน แต่หลังจากที่กฎหมายป่าชุมชนฉบับ สนช. มีผลใช้บังคับกฎหมายจะ
ตัดสิทธิชุมชนเหล่านี้อย่างสิ้นเชิงชุมชนจะไม่มีสิทธิดูแลจัดการป่าชุมชนที่เคยดูแลอยู่อีกต่อไป ที่ผ่านมาการ
จัดการป่าชุมชนดังกล่าวถือว่าผิดกฎหมายอุทยานแห่งชาติหรือกฎหมายเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แต่เนื่องจาก
เป็นที่ประจักษ์ว่าชุมชนได้ช่วยดูแลรักษาป่า ช่วยแบ่งเบาภาระจากภาครัฐ ในทางปฏิบัติจึงได้มีการ
ประนีประนอมจากเจ้าหน้าที่รัฐให้ชุมชนจัดการป่าในรูปแบบ “ป่าชุมชน” ได้
มาตรา 34 กําหนดห้ามไม่ให้มีการทําไม้ในป่าชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ ปัญหาที่ตามมาคือ
มาตรานี้ สนช. ได้กําหนดว่าเมื่อชุมชนได้ผ่านการตรวจสอบคัดกรองจากกระบวนการตามกฎหมายจนเชื่อมั่น
ได้ว่าเป็น “ชุมชนที่ดี” เป็นชุมชนที่รักษาป่าและอนุญาตให้จัดตั้งป่าชุมชนได้แล้วกฎหมายอนุญาตให้ชุมชน
เก็บหา “ของป่า” ได้ตามกฎระเบียบที่กฎหมายกําหนด แต่สําหรับ “ไม้” ชุมชนมีสิทธิใช้เฉพาะไม้ไผ่และไม้
ฟืนเท่านั้น ส่วนไม้อื่น ๆ ห้ามแตะต้องเด็ดขาด ข้อกําหนดดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจผิดว่า การใช้
ประโยชน์จากไม้เท่ากับการทําลายและไม่เชื่อว่าชุมชนดูแลรักษาได้อย่างยั่งยืน ข้อบัญญัติใน มาตรา 34 จึง
ขัดแย้งกับวิถีชีวิตของชุมชนที่ต้องพึ่งพาป่า และขัดแย้งกับความเป็นจริงที่พิสูจน์มานานจนเป็นที่ยอมรับแล้ว
ว่ามีชุมชนที่ดี ที่มีกฎเกณฑ์ และภูมิปัญญาในการใช้ประโยชน์จากไม้โดยรักษาป่าไว้ได้อย่างยั่งยืน
ดังนั้นมาตรา 25 และ 34 ในพ.ร.บ.ป่าชุมชนฉบับสนช. จึงมีผลทําให้เกิดการวิพากษ์และเคลื่อนไหว
ของเครือข่ายป่าชุมชนในทุกภูมิภาคออกมาประกาศไม่รับร่างกฎหมายฉบับนี้และจะผลักดันให้เกิดการยื่นเรื่อง
ต่อตุลาการรัฐธรรมนูญว่ากฎหมายป่าชุมชนฉบับสนช. นี้ขัดกับรัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ. 2550 เรื่องสิทธิชุมชน
ในมาตรา 66 ต่อไป (บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์, 2550: 9) ความขัดแย้งในหลักการและข้อกฎหมาย จนนําไปสู่ปัญหา
เรื่องการละเมิดสิทธิการจัดการทรัพยากรหรือที่ดินนั้นมีความซับซ้อนละเอียดอ่อนมาก แม้รัฐและองค์กรอิสระ
เครือข่ายต่างๆ รวมถึงกลุ่มชุมชน จะนํามาอภิปรายเพื่อพยายามหาข้อสรุปและหาทางออกก็ตาม
สังเขปมโนทัศน์ที่ผู้เขียนประมวลมาชี้ให้เห็นว่ามโนทัศน์ดังกล่าวเหมาะสมที่จะนํามาใช้อธิบายลักษณะ
สําคัญของวรรณกรรมของวัธนา บุญยัง ในที่นี้ ผู้เขียนบทความใช้คําว่า “วรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศ” โดย
หมายถึง “ecocriticism” ตาม ธัญญา สังขพันธานนท์ (2553) และใช้คําว่า “สิทธิชุมชน” และ “สิทธิในการ
จัดการทรัพยากร” ในความหมายเดียวกันแทนคําว่า “community rights” โดยที่สิทธิดังกล่าวสัมพันธ์กับ
ประเด็นป่าชุมชนด้วย
วรรณกรรมทั้ง 5 เรื่องที่เป็นข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้มีแก่นแกนร่วมกันอยู่ คือ แนวคิดหลัก (theme)
ที่ว่า “มนุษย์ควรรักษาผืนป่าให้คงอยู่อย่างยั่งยืน เพราะป่าเป็นต้นกําเนิดของสรรพสิ่งที่เกื้อกูลมนุษย์”
แนวคิดดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับป่า ปัญหาการทําลายป่า และชี้ให้เห็นว่าวัธนา บุญยัง
ตระหนักถึงความสัมพันธ์ของคนกับป่าและความสําคัญของธรรมชาติอย่างมาก