Page 203 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 203
202 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
นอกจากนี้ชลธิรา สัตยาวัฒนาอธิบายว่า กระบวนทัศน์ “สิทธิชุมชน” ถือว่า “ความรู้” และ “ฐาน
คิด” (เชิงทฤษฎี) แม้กระทั่ง “ประวัติศาสตร์” รวมถึง “ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์” เป็นสิ่งที่ชุมชนผู้คน “สืบ
สาน” ขึ้นจากความทรงจําในอดีต การศึกษาทางมานุษยวิทยาที่คํานึงถึงมิติของกาลเวลาและประวัติศาสตร์
หลายๆ เล่มที่ผ่านมาทําให้เห็นว่าทุกชุมชนท้องถิ่นในประเทศไทยและเอเชียมี “จักรวาลทัศน์” และ “ภูมิ
ปัญญาท้องถิ่น” ที่สั่งสมกันมาอย่างยาวนาน ระบบความเชื่อและภูมิปัญญาปะทะสังสรรค์และพัฒนาร่วมกัน
มาช้านานจนกล่าวได้ว่าเป็นรากร่วมวัฒนธรรม ขณะเดียวกันก็มีความเป็นสากลในระดับมนุษยชาติ ทุกชุมชน
มีความนอบน้อมต่อธรรมชาติ เคารพผีฟ้า ผีน้ํา ผีเหมือง ผีฝาย บนไหว้เจ้าป่า เจ้าเขา ผีสางเทวดา นางไม้
ทุกชุมชนท้องถิ่นมีจิตสํานึกร่วมที่รักธรรมชาติ เพราะถือว่าธรรมชาติคือผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดและที่สําคัญคือ
“ธรรมชาติมีชีวิต มีจิตใจ มีวิญญาณ” ทําให้ทุกชุมชนต่างมีกติกาสัญญาประชาชนว่าจะล่วงละเมิดต่อ
ธรรมชาติมิได้ ดังนั้นกระบวนทัศน์อีกด้านที่กล่าวว่า ชุมชนท้องถิ่นที่เป็นรากหญ้า ซึ่งเป็นผู้รักษาทรัพยากร
ทางธรรมชาติจนกระทั่งถึงทุกวันนี้กลายเป็นผู้ทําลายธรรมชาติ เป็นผู้ทําลายป่า เป็นผู้ยังหายนะมาสู่ป่า
สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศนั้น เป็นความแตกต่างที่เกิดจาก “ความรู้” ที่ต่างชุดกันและ “การเมือง” ที่
ต่างผลประโยชน์ ความขัดแย้งเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระหว่างรัฐและชุมชน
ท้องถิ่นทั่วประเทศในปัจจุบันมาจาก “ฐานความรู้” “การจัดการความรู้” “การเมืองของความรู้” และ
“ผลประโยชน์”ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง จึงเป็นปัญหาที่ยากจะรอมชอม เว้นแต่ว่าซึ่งเป็นผู้ที่ผูกขาด
ผลประโยชน์จะยอมเสียสละ ลดทอนอํานาจ กระจายอํานาจไปสู่ท้องถิ่น ขยายการมีส่วนร่วมของประชาชน
เพื่อให้ชุมชนได้เป็นเจ้าของจัดการผลประโยชน์จากทรัพยากรทางธรรมชาติได้ด้วยตนเอง ตามแนวทางสิทธิ
ชุมชน (ชลธิรา สัตยาวัฒนา, 2546: 32-35)
แต่จนถึงขณะนี้ พ.ร.บ. ป่าชุมชนเป็นปัญหาที่ยังไม่ยุติเพราะไม่ได้รับการยอมรับจากภาคประชาชน
เนื่องจากเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2550 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติผ่าน พ.ร.บ.ป่าชุมชนหลังจากมีการ
เสนอร่างพ.ร.บ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 แต่ปัญหาคือ พ.ร.บ ป่าชุมชนฉบับ สนช. มีเนื้อหาใน 2 มาตราที่ขัดต่อ
หลักการป่าชุมชนที่ภาคประชาชนเสนอจนยากที่จะยอมรับ ได้แก่
มาตรา 25 กําหนดการจัดตั้งป่าชุมชนในเขตป่าอนุรักษ์ทําได้เฉพาะชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานมาก่อนการ
ประกาศพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และได้จัดการดูแลรักษามานานไม่น้อยกว่า 10 ปี แต่ข้อถกเถียงที่เกิดขึ้นจากภาค
ประชาชน คือ ตามมาตรา 25 อนุญาตให้ชุมชนเฉพาะที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์มาก่อนเท่านั้นมีสิทธิ “ยื่นคําขอ
จัดตั้ง” ป่าชุมชนได้ แต่สําหรับชุมชนที่อยู่มาก่อนการประกาศเขตป่าอนุรักษ์ ได้ดูแลจัดการป่าชุมชนมาเป็น
เวลา 10 ปี ตามที่กฎหมายกําหนด ซึ่งในตอนประกาศเขตป่าอนุรักษ์ได้ถูกกันออกมาอยู่นอกเขตป่าอนุรักษ์ไม่
มีสิทธิ “ยื่นคําขอจัดตั้ง” ป่าชุมชน ชุมชนที่ไม่มีสิทธิตามมาตรา 25 นี้ เป็นชุมชนที่อยู่ชายเขตป่าอนุรักษ์แต่ยัง
ดูแลจัดการป่าชุมชนที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์เรื่อยมา และเป็นชุมชนต้นแบบของการยกร่างกฎหมายป่าชุมชน