Page 202 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 202

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   201



                     ตนเอง ทําให้ราษฎรรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของทรัพยากรป่า และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการช่วยรักษา
                     ระบบนิเวศ ลดการทําลายป่าและฟื้นฟูป่า ใน พ.ร.บ. ป่าชุมชนจึงมีจุดม่งหมายเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ความ

                     เหลื่อมล้ําทับซ้อนของพื้นที่อยู่อาศัยและทํากินของชาวบ้านกับเขตอุทยานทั้งนี้เพื่อรักษาผืนป่าให้ยั่งยืน

                            ป่าชุมชนและสิทธิชุมชนจึงเป็นแนวคิดที่มีความสําคัญอย่างยิ่ง มีความหมายและขอบเขตอย่างไรนั้น

                     มีการศึกษาและอธิบายจากนักวิชาการที่ศึกษาปัญหาของชุมชนท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อมไว้หลายคน สามารถ
                     สรุปได้ดังนี้


                            เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ (2548:  1-2) อธิบายว่า ในประเทศไทยป่าชุมชนเป็นคําใหม่ที่นํามาใช้เมื่อ
                     3 ทศวรรษนี้ มีกําเนิดมาจากแนวคิดเรื่องการพัฒนาและแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน เนื่องจากองค์การอาหารและ

                     เกษตรแห่งสหประชาชาติสรุปว่า ป่าเป็นปัจจัยที่สําคัญยิ่งต่อชีวิตและผูกพันกับวัฒนธรรมประเพณีของคนใน
                     ชนบท การพัฒนาชุมชนในชนบทจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับป่า แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการป่าเพื่อการ

                     พัฒนาชุมชนท้องถิ่นจึงเกิดขึ้นและแพร่ไปทั่วโลก ซึ่งต่อมาเมื่อการพัฒนามุ่งประเด็นไปที่การทําให้ชุมชนเข้มแข็ง
                     และการฟื้นฟูป่าและสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม แนวคิดป่าชุมชนจึงเป็นที่ยอมรับของภาครัฐและการเป็น

                     เครื่องมือในการพัฒนาฟื้นฟูชนบทไทย เป็นส่วนสําคัญในแผนการจัดที่ดินผืนใหญ่ของรัฐและในแผนพัฒนาชนบท
                     ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับที่ 5  เป็นต้นมา ส่วนในด้านสิทธิมนุษยชน เมื่อเกิดการ

                     แก่งแย่งทรัพยากรป่าไม้ระหว่างรัฐและท้องถิ่น เช่น ป่าที่ชุมชนดูแลถูกรัฐใช้อํานาจตามกฎหมายเข้าไปจัดการ
                     ป่าชุมชนในบริบทนี้จึงเกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งและความต้องการให้รัฐหันมาคุ้มครองสิทธิของชุมชน เช่น
                     ป่าปู่ตา ป่าช้า ป่าบุ่งป่าท่าม ที่ชาวบ้านดูแลและใช้สอยร่วมกันและจัดการผ่านระบบภูมิปัญญาก็นับว่าเป็น

                     ลักษณะของป่าชุมชนเช่นกัน รัฐจึงควรเห็นความสําคัญ


                            การศึกษาของ ยศ สันตสมบัติและคณะวิจัย เรื่อง นิเวศวิทยาชาติพันธุ์ ทรัพยากรชีวภาพและสิทธิ
                     ชุมชน (2547:  16-27) ซึ่งเป็นงานวิจัยนี้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากร พบว่าภูมิปัญญา

                     ท้องถิ่นมีหลักการและแนวคิดที่สัมพันธ์กับแนวคิดพื้นฐานเรื่องสิทธิชุมชน กล่าวสรุปได้ว่า สิทธิชุมชนหมายถึง
                     สิทธิในการกําหนดวิธีชีวิตของตนเองและกําหนดทิศทางการพัฒนาสังคมโดยมุ่งเสริมสร้างอํานาจท้องถิ่น

                     เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการพัฒนา ตลอดจนมีสิทธิในการต่อสู้
                     เพื่อดํารงรักษาศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของชนทุกกลุ่ม สิทธิชุมชนเป็นกระบวนการทางสังคมเพื่อเรียกร้อง

                     การมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นการสืบทอดวิถีปฏิบัติและจารีตประเพณีในการรักษาและจัดการทรัพยากรของ
                     ชุมชนแต่เดิมหรือเป็นขบวนการที่เกิดขึ้นใหม่ อันเป็นผลมาจากการรวมตัวของชาวบ้านเพื่อต่อต้านการ
                     แทรกแซงจากภายนอก ข้อสังเกตหนึ่งคือ แม้ว่า “ป่าชุมชน” และ “สิทธิชุมชน” เป็นวาทกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นาน

                     มานี้  แต่ที่จริงนั้น “ป่าชุมชน” และ “สิทธิชุมชน”  เป็นหลักการจัดการที่แนบแน่นอยู่ในวิถีชีวิตและวัฒนธรรม
                     ชุมชนมาอย่างยาวนาน
   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207