Page 201 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 201
200 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
ออกมาในวรรณคดี อีกด้านคือสํานึกในความเป็นอื่นกับธรรมชาติสื่อโดยการแสดงภาพธรรมชาติแบบลึกลับ
โหดร้ายและรุนแรง (ธัญญา สังขพันธานนท์, 2553: 376-383)
การศึกษาของธัญญา สังขพันธานนท์นับเป็นงานบุกเบิกที่มีประโยชน์ต่อผู้สนใจมโนทัศน์วรรณกรรม
วิจารณ์เชิงนิเวศอย่างยิ่ง เพราะได้รวบรวมแนวคิดแนวทางวิจารณ์วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไว้อย่าง
ครอบคลุม ละเอียดและชัดเจน จึงเป็นแหล่งค้นคว้าเกี่ยวกับมโนทัศน์วรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศที่สําคัญ ทําให้
เห็นทิศทางการเติบโตของการศึกษาวรรณกรรมด้วยมโนทัศน์เชิงนิเวศสํานึกต่อไปในอนาคต
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์กว้างขวางมาก เพราะนอกจากธรรมชาติจะ
สร้างสรรค์จินตนาการ เป็นแรงบันดาลใจและให้องค์ความรู้ต่างๆ แก่มนุษย์ มนุษย์ยังใช้ธรรมชาติเป็น
ทรัพยากรเพื่อการดํารงชีพ เป็นทั้งอาหาร ยารักษาโรค ที่พักอาศัย ที่ทํากิน ธรรมชาติจึงให้คุณต่อมนุษย์มาก
เหลือคณา ในอดีตธรรมชาติอุดมสมบูรณ์จึงเกื้อกูลมนุษย์ได้อย่างไร้ข้อจํากัด ต่อมาเมื่อมนุษย์เพิ่มขึ้นแต่
ทรัพยากรในธรรมชาติเริ่มมีอย่างจํากัด ปัญหาระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และมนุษย์กับมนุษย์จึงเกิดขึ้น
นําไปสู่ความขัดแย้งเรื่องการแย่งชิงทรัพยากรในธรรมชาติและการแย่งสิทธิในการจัดการทรัพยากร
ทุกวันนี้ปัญหาการแย่งชิงสิทธิในการจัดการทรัพยากรเป็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่สําคัญ
ปัญหาหนึ่ง เมื่อคู่ขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างรัฐกับชุมชน เมื่อรัฐกลายเป็นผู้กระทําการละเมิดสิทธิต่างๆของ
ประชาชนเสียเองโดยการใช้กฎหมายมาควบคุม ประชาชน/ชุมชนจึงลุกขึ้นมาเรียกหาความยุติธรรม
โดยเฉพาะเรื่องสิทธิชุมชนในการตั้งถิ่นฐานและการจัดการทรัพยากร (เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์, 2549:1-12) ทํา
ให้นักวิชาการจากหลายสาขาวิชาพากันขบคิดและศึกษาปัญหานี้ เพื่อหาข้อสรุปที่จะเป็นทางออกให้กับสังคม
เป็นผลให้เกิดมโนทัศน์เรื่องสิทธิการจัดการทรัพยากร (community rights) ดังรายละเอียดต่อไปนี้
มโนทัศน์เรื่องสิทธิชุมชนหรือสิทธิการจัดการทรัพยากร
ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิชุมชนหรือป่าชุมชนนี้เป็น
ประเด็นถกเถียงกันมากยิ่งในขณะนี้ สืบเนื่องมาจากการที่
หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบดูแลปัญหานี้โดยตรงเช่น
กรมป่าไม้ พยายามที่จะออกกฎหมาย อันได้แก่ ร่าง
พระราชบัญญัติป่าชุมชน หลักการและเหตุผลใน พ.ร.บ.
ป่าชุมชน คือ การส่งเสริมให้ราษฎรได้มีส่วนร่วมกับภาครัฐ
ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาสภาวะแวดล้อมให้ราษฎร
รวมตัวกันเพื่อจัดการดูแลรักษา และใช้ทรัพยากรป่าด้วย