Page 200 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 200

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   199



                            การนํามโนทัศน์วรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศมาใช้เป็นกรอบความคิดหลักในการศึกษาวรรณกรรมของไทย
                     ที่นั้น แม้จะเป็นสิ่งใหม่และอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่ได้มีความพยายามในการเผยแพร่กระบวนทัศน์นี้ให้กว้างขวาง

                     ยิ่งขึ้น เช่น นํามโนทัศน์วรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศนี้ไปบรรจุในหลักสูตรการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยแล้ว เช่น
                     หลักสูตรในภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการนําของตรีศิลป์ บุญขจร ที่ริเริ่ม
                     ศึกษามโนทัศน์วรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศอย่างเป็นระบบมากขึ้น เป็นผลให้เกิดวิทยานิพนธ์ด้านวรรณกรรมศึกษา

                     เล่มสําคัญที่ใช้มโนทัศน์วรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศเป็นแนวทางสําคัญเพื่อศึกษาวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยก่อน
                     สุโขทัยจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นคือ วิทยานิพนธ์ของธัญญา สังขพันธานนท์เรื่อง วรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศ:

                     วาทกรรมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในวรรณกรรมไทย (2553) ผลการศึกษาพบว่ากระบวนทัศน์เกี่ยวกับ
                     ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในวรรณคดีไทยแบบจารีตนิยม มี 3 กระบวนทัศน์หลัก และมีรากฐานความคิดร่วมที่

                     สําคัญ คือ ระบบคิดที่ตระหนักรู้ในความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ การนอบน้อมและเคารพในธรรมชาติ อันเป็น
                     ระบบคิดพื้นฐานของจิตสํานึกเชิงนิเวศที่มีลักษณะสอดคล้องกับกระบวนทัศน์คตินิยมเชิงนิเวศเป็นศูนย์กลาง

                     (eco-centrism) แต่อย่างไรก็ตามกระบวมทัศน์ทั้งสามประการเกี่ยวข้องกับสภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม
                     วัฒนธรรมและพัฒนาการทางการเมืองแต่ละยุค และก่อให้เกิดวาทกรรมสําคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในลักษณะ
                     ต่างๆ ที่แตกต่างกัน กล่าวคือ

                            (1) กระบวนทัศน์จิตสํานึกเชิงนิเวศแนวดั้งเดิม หมายถึง ระบบคิดเกี่ยวกับธรรมชาติในสังคมบุพกาล

                     ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มาจากธรรมชาติและต้องพึ่งพิงธรรมชาติเพื่อความอยู่รอด ธรรมชาติจึงเป็นมารดาแห่งโลก

                            (2) กระบวนทัศน์จิตสํานึกเชิงนิเวศแนวพุทธปรัชญา เป็นกระบวนทัศน์ในยุคก่อตั้งรัฐ ผู้ปกครองรัฐ
                     น้อยใหญ่ในสุโขทัย ล้านนาและบริเวณรอบๆ มีผู้ปกครองที่ยอมรับพุทธศาสนา จึงผสมผสานกระบวนทัศน์

                     จิตสํานึกเชิงนิเวศแนวดั้งเดิมเข้ากับปรัชญาพุทธศาสนา เกิดเป็นวาทกรรม ธรรมะ ธรรมชาติและศีลธรรมของ
                     บุคคลสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น เมื่อมีการปกครองที่ไม่อยู่ในธรรมจะส่งผลต่อธรรมชาติ เช่น วาทกรรม
                     ธรรมราชา วาทกรรมมหาบุรุษ กระบวนทัศน์นี้ปรากฏในไตรภูมิกถาอย่างเห็นได้ชัด


                            (3) กระบวนทัศน์จิตสํานึกเชิงนิเวศแนวชนชั้น เป็นกระบวนทัศน์ในวรรณคดีราชสํานักในสมัยอยุธยา
                     จนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่ปกครองด้วยระบบเทวราชาและมีระบบชนชั้นในสังคม จึงก่อให้เกิดวาทกรรม
                     เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใหม่ที่สะท้อนความสัมพันธ์เชิงอํานาจระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ระหว่าง

                     ผู้ชายกับผู้หญิงในสังคมศักดินา ความเหลื่อมล้ําและอติทางเพศแบบชายเป็นใหญ่เหนือกว่าหญิง ผ่านการใช้
                     ภาษาภาพพจน์และโวหารอุปมาอุปมัย นับเป็นการสืบทอดและผลิตซ้ําวาทกรรมธรรมราชา และสร้าง

                     วาทกรรมใหม่ขึ้นมารองรับอํานาจทางการเมือง เช่น วาทกรรมช้างเผือก วาทกรรมล่าสัตว์ ธรรมชาติจึง
                     เป็นสัญญะทางการเมือง ดังกรณีล่าสัตว์และการประกอบพิธีดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง นอกจากนี้ในวรรณคดี

                     ราชสํานักในสมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
                     2  แนวคือ แสดงสํานึกในความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ กวีจึงให้ภาพความงดงามของธรรมชาติปรากฏ
   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205