Page 199 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 199
198 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
บทบาทของภาษา เพราะเห็นว่าภาษาไม่สามารถแยกออกจากโลกธรรมชาติ สนใจภาษาในฐานะเป็นส่วนสําคัญ
ในการสร้างวาทกรรมเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
อย่างไรก็ตามลักษณะที่น่าสนใจของวรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศ คือ ความสนใจอย่างมากใน
การศึกษาการนําเสนอภาพตัวแทนของธรรมชาติและเห็นว่าการนําเสนอภาพตัวแทนของธรรมชาติจะเป็น
คุณลักษณะสําคัญประการหนึ่งที่ช่วยในการพิจารณาได้ว่า ตัวบทวรรณกรรมหนึ่งๆ เป็นงานเกี่ยวกับธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อมหรือไม่ ดังนั้นนักวรรณกรรมศึกษาบางคนจึงเห็นว่า วรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศเป็นการศึกษา
เพื่อให้มนุษย์เข้าถึงธรรมชาติ หรือบางคนเห็นว่าวรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศก็เป็นส่วนหนึ่งในการศึกษา
วัฒนธรรมด้วยเช่นกัน เพราะวรรณกรรมหรือตลอดจนศิลปะแขนงอื่นๆ เป็นผลผลิตทางวัฒนธรรม ขณะที่บาง
คนมองว่าวรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศมีความเป็นการเมือง เพราะนักวิจารณ์กลุ่มนี้สนใจว่า วรรณกรรมที่
กล่าวถึงธรรมชาติเป็นหลักนั้นจะนําเสนอปัญหาสิ่งแวดล้อมออกมาได้อย่างไรและมีจุดมุ่งหมายอย่างไร
แม้นักวรรณกรรมศึกษาสามารถนําการวิจารณ์วรรณกรรมเชิงนิเวศมาเป็นแนวทางวิเคราะห์
วรรณกรรมได้หลากหลายดังตัวอย่างข้างต้น แต่แนวคิดสําคัญที่เป็นแก่นแกนจริงๆ ของกระบวนทัศน์นี้คือ
การมุ่งมองวิธีอธิบายหรือศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติที่ปรากฏในวรรณกรรม
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติที่ปรากฏในวรรณกรรมไทย
จุดกําเนิดการวิจารณ์วรรณกรรมเชิงนิเวศสํานึกเริ่มต้นขึ้นในสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลาที่ผู้คนเริ่ม
ตระหนักถึงภาวะวิกฤตเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและภัยทางธรรมชาติมากขึ้น ช่วงปลายทศวรรษปี ค.ศ.1970 เริ่ม
มีการใช้คําว่า “ecocriticism” ในวงการวรรณกรรมศึกษาจนแพร่หลายในเวลาต่อมา (Buell, 2005: 13)
หากจะกล่าวเฉพาะในวงวรรณกรรมไทย การศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมานั้น
เป็นลักษณะการศึกษาวิเคราะห์ตามแนวทางสุนทรียศาสตร์เป็นสําคัญ เช่นการมุ่งมองว่านักประพันธ์เลือกใช้
ธรรมชาติเป็นกลวิธีที่ก่อให้เกิดความงามทางวรรณศิลป์อย่างไร หรือวิเคราะห์ว่ากวีคนหนึ่งๆ ใช้ธรรมชาติ
สร้างลักษณะเฉพาะในกวีโวหารของตนอย่างไร (ธัญญา สังขพันธานนท์, 2553: 116-122) หรือศึกษาการสืบ
ทอดขนบทางวรรณศิลป์โดยสังเกตประเด็นที่เกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น การศึกษาของสุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา
(2541:161) เรื่อง “หวังสร้างศิลป์นฤมิต เพริศแพร้ว การสืบทอดขนบกับการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ในกวี
นิพนธ์ไทยสมัยใหม่” มีประเด็นศึกษาที่เกี่ยวกับธรรมชาติ ซึ่งผู้วิจัยสรุปให้เห็นว่า จากการศึกษาการสืบทอด
และสร้างสรรค์ขนบวรรณศิลป์ในกวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย ธรรมชาติอันเป็นแก่นสําคัญในวรรณคดีไทย ยังคง
เป็นพลังบันดาลใจแก่กวี และกวียังใช้ธรรมชาติสร้างวรรณศิลป์และอารมณ์สะเทือนใจในระดับต่างๆ ในงาน
ของตนอย่างมีประสิทธิภาพ