Page 198 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 198
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 197
แต่ต่อมาภาพความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในวรรณกรรมร่วมสมัยของไทยไม่ได้หอม
หวานและให้ความรู้สึกในเชิงอารมณ์รักรัญจวนใจมากเท่าที่เคยเป็นมาในอดีต นักประพันธ์มีมุมมองต่อ
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแตกต่างออกไป ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากกรอบความคิดแบบสัจนิยมและธรรมชาติ
นิยม คือ นําเสนอภาพชีวิตหรือธรรมชาติตามสภาพความเป็นจริง อย่างตรงไปตรงมาและหันมาเน้นย้ําให้เห็น
ว่าความงามที่แท้นั้น มิใช่สิ่งที่เกิดจากการตกแต่งประดับประดา ความสามัญเรียบง่ายที่พบเห็นได้ในภาวะ
ปกติธรรมดาก็มีความงามเช่นกัน (อาบรามส์, 2538: 281-284) จนนําไปสู่แนวทางในการสร้างสรรค์หรือ
วิจารณ์วรรณกรรม ที่นักวรรณกรรมศึกษาของไทยเรียกว่า วรรณกรรมเชิงนิเวศสํานึก (ธัญญา สังขพันธานนท์,
2553: 412)
วรรณกรรมที่แสดงมโนทัศน์นิเวศสํานึกมีลักษณะที่สําคัญ คือ ผู้ประพันธ์ตระหนักถึงคุณค่าของ
ธรรมชาติจึงนําเสนอธรรมชาติเป็นหัวใจสําคัญของเรื่อง มุ่งเน้นให้เห็นความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติในฐานะที่
ธรรมชาติเป็นผู้กําเนิดสรรพสิ่ง (Mother Nature) เพราะมนุษย์ไม่เพียงต้องพึ่งพาธรรมชาติเพื่อดํารงชีวิต แต่
ยังเรียนรู้โลก ชีวิต ปรัชญา และคติธรรมได้จากธรรมชาติอีกด้วย ดังนั้นธรรมชาติจึงเป็นผู้ก่อกําเนิดทั้งชีวิตและ
ปัญญาญาณ ดังนั้นเมื่อนักประพันธ์มีความเคารพธรรมชาติจึงพยายามสื่อแสดงให้เห็นข้อเสียของการกระทํา
ที่ตั้งอยู่บนฐานคิดที่ว่า ธรรมชาติเป็นเพียงทรัพยากรและเป็นสมบัติสาธารณะของมนุษย์ที่เชื่อว่าตนเองสูงส่ง
ยิ่งใหญ่เป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่งและจักรวาล ความคิดเช่นนี้ทําให้มนุษย์มุ่งใช้ประโยชน์จากธรรมชาติโดยมิ
ต้องคํานึงถึงผลเสียใดๆ กลายเป็นพฤติกรรมการบริโภคทรัพยากรทางธรรมชาติเกินขอบเขต ซึ่งเป็นสาเหตุ
หลักในการทําลายธรรมชาติ นักประพันธ์ที่สร้างสรรค์วรรณกรรมโดยมุ่งแสดงมโนทัศน์นิเวศสํานึกนั้นจะสื่อให้
เห็นว่าธรรมชาติต่างหากคือผู้ยิ่งใหญ่ที่จะกําหนดความเป็นไปของมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นเพียงส่วนเสี้ยวหนึ่ง
ของธรรมชาติ วรรณกรรมที่แสดงมโนทัศน์นิเวศสํานึกนั้นจึงมีบทบาทในการกระตุ้นจิตสํานึกของมวลมนุษย์ใน
ประเด็นปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ (ตรีศิลป์ บุญขจร, 2553)
ขณะที่ ธัญญา สังขพันธานนท์ (2553: 59-68) อธิบายว่า นักวรรณกรรมศึกษาต่างนิยามความหมาย
ของกระบวนทัศน์นี้กันไว้อย่างหลากหลาย สําหรับธัญญา สังขพันธานนท์เขาเรียกกระบวนทัศน์นี้ว่า
“วรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศ” มีลักษณะสําคัญคือ เป็นกระบวนทัศน์ในการศึกษาวรรณกรรมกับ
สิ่งแวดล้อม แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมและโลกธรรมชาติที่ปรากฏในตัวบท
วรรณกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวบทที่เรียกว่า งานเขียนเกี่ยวกับธรรมชาติ (nature writing) โดยการอ่าน
อย่างละเอียดพร้อมกับตั้งคําถามเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวโยงถึงธรรมชาติในวรรณกรรมนั้น เช่น ธรรมชาติ
ได้รับการนําเสนอในตัวบทอย่างไร การประกอบสร้างคําศัพท์ที่เกี่ยวกับธรรมชาติเป็นอย่างไร จริยศาสตร์
สิ่งแวดล้อมหรือนิเวศวิทยาเชิงลึกนั้นให้ความรู้เราอย่างไร สนใจและให้ความสําคัญต่อการศึกษาภาษาและ