Page 197 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 197
196 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
อาจกล่าวได้ว่าวรรณกรรมของวัธนา บุญยังเป็นพื้นที่เสนออุดมการณ์ในการรักษาป่าไม้ ทําให้เห็นแนว
ทางการสร้างสรรค์วรรณกรรมที่ชัดเจนตลอดช่วง 34 ปี วัธนา บุญยังมีผลงาน (เรื่องสั้น) ลงพิมพ์ครั้งแรกใน
หนังสือฟ้าเมืองทองในช่วงปี พ.ศ.2519-2520 จากนั้นเขาก็ทํางานเขียนเรื่อยมา มีผลงานรวมเล่มเป็นครั้งแรก
ปี 2528 จากงานแปลเรื่อง The Incredible Journey เป็นเรื่องราวการผจญภัยหาทางกลับบ้านของสัตว์เลี้ยง
สามตัวใช้ชื่อเป็นไทยว่า “เส้นทางเถื่อน” ตลอด 34 ปีในแวดวงวรรณกรรม วัธนา บุญยังผลิตวรรณกรรม
หลายประเภททั้งเรื่องสั้น นวนิยาย สารคดี และเรื่องแปล ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับป่าที่ชี้ชวนให้ผู้อ่านเกิด
ความรักธรรมชาติ เน้นให้เห็นถึงความสําคัญของระบบนิเวศ พืชพันธุ์และสัตว์ป่า ปัจจุบันเขายังคงทํา
สร้างสรรค์วรรณกรรมเกี่ยวกับป่า ควบคู่ไปกับการเดินทางท่องเที่ยวไปตามป่าเขาลําเนาไพร
จุดยืนที่เด่นชัดในการสร้างสรรค์วรรณกรรมของวัธนาสอดคล้องกับมโนทัศน์การวิจารณ์วรรณกรรมเชิง
นิเวศสํานึก (ecocriticism) และมโนทัศน์เรื่องสิทธิชุมชนหรือสิทธิการจัดการทรัพยากร (community rights)
ผู้ศึกษาจึงนํามโนทัศน์ทั้ง 2 มาทดลองอ่านวรรณกรรมของวัธนา ด้วยมุ่งหวังว่าการศึกษาวรรณกรรมด้วย
มโนทัศน์การวิจารณ์วรรณกรรมเชิงนิเวศสํานึกและมโนทัศน์เรื่องสิทธิชุมชน โดยเฉพาะเรื่องสิทธิการจัดการ
ทรัพยากรจะทําให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิถีแห่งธรรมชาติและวิถีมนุษย์ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น
ผู้ศึกษาขออธิบายมโนทัศน์ดังกล่าวโดยสังเขป ดังนี้
การวิจารณ์วรรณกรรมแนวนิเวศสํานึก (ecocriticism)
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ
ธรรมชาติปรากฏในงานวรรณกรรมไทยมา
ยาวนาน นักวรรณกรรมศึกษาตระหนักดีว่านัก
ประพันธ์ไทยใช้ธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจและ
เป็นพลังทางปัญญาในการสร้างสรรค์วรรณกรรม
เช่น กวีไทยโบราณรจนาวรรณคดีประเภทนิราศ
โดยอาศัยธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจ กวีจะ
พรรณนาอารมณ์ความรู้สึกเหงาเศร้าเพราะพลัด
พรากจากรัก หรือบรรยายประสบการณ์ที่พบ
เห็นขณะเดินทาง โดยเชื่อมโยงความรู้สึกเหล่านั้นเข้ากับธรรมชาติรอบตัวและสร้างสรรค์กวีโวหารเพื่อสื่อให้
ผู้อ่านเห็นเป็นภาพ ดังนั้นมวลเมฆ สายลม แสงแดด แสงดาว ดอกไม้ ต้นไม้ ปลา นก และสายน้ําจึงถูกนํามา
เป็นตัวเปรียบเทียบ เช่น กวีมองเห็นดอกแก้วและได้สูดกลิ่นหอมหวาน จิตก็กระหวัดถึงนางคนรักที่จากมา
รําพึงคล้ายว่าหญิงคนรักนั้นมาอยู่ใกล้ จึงพรรณนาอารมณ์ออกมาเป็นกวีโวหาร