Page 196 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 196
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 195
ไพรมืด เล่าถึงการผจญภัยของชายหนุ่มสามคน ได้แก่ พรชัย สุระ ชัช พวกเขาต้องอาศัยนายพรานผู้
แข็งแกร่งชื่อ ลุงแพร นําทางเข้าไปในป่าดิบลึก ในขณะเดินทางเข้าไปในป่าพวกเขาพบพระชราธุดงค์อยู่กลาง
ป่าจึงนิมนต์ให้ร่วมขบวนเดินทางตะลุยป่าไปด้วยกัน มูลเหตุแห่งการเดินทาง คือ พวกเขาไปค้นหาแม่น้ําสาย
หนึ่งที่เต็มไปด้วยไพลินอยู่ในป่าลึกริมชายแดน แต่การเดินทางในป่านั้นยากลําบากพวกเขาพลัดเข้าไปในเขต
ป่าดึกดําบรรพ์ การผจญภัยในเรื่องนี้เต็มไปด้วยความลึกลับ น่าสะพรึงกลัว อันตราย และความยากลําบาก
นานาประการทั้งสัตว์ป่า เช่น เสือ โขลงช้าง งูยักษ์ แมงมุมมีพิษร้ายและภัยจากอํานาจเร้นลับมหัศจรรย์ที่พวก
เขาต้องเอาตัวรอดให้ได้
หอมกลิ่นป่า เป็นรวมบทบันทึกขนาดสั้น ที่ถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนรู้ของวัธนา บุญยังในการ
เดินทางเข้าป่าได้ผ่านพบสรรพสิ่ง วัธนาบันทึกภาพวิถีของคน สัตว์และธรรมชาติในแง่มุมต่างๆ นอกจากนี้ยังมี
เรื่องเล่าเชิงชีวประวัติของคนที่อาศัยพึ่งพิงป่าจากประสบการณ์การเดินป่าหลากหลายพื้นที่ของเขา ภาพวิถี
ชีวิตที่สันโดษ ความสงบสุขที่เกิดจากการเข้าใจวิถีแห่งป่า เป็นบทบันทึกชีวิตของชาวบ้านในป่าใหญ่สะท้อน
ภูมิปัญญาที่ลุ่มลึก และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยต่างๆ ที่วัธนาบันทึกไว้นําผู้อ่านไปสู่ความเข้าใจและตระหนักรู้ในกฎ
และคุณค่าของธรรมชาติ
รางเหล็กในป่าลึก เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์การพัฒนาหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกของไทย
ผ่านการก่อตั้งและดําเนินกิจการโรงเลื่อยไม้ของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เป็นที่มาของอําเภอศรีราชา ราง
เหล็กในป่าลึกเล่าเรื่องของนายพรานชื่อ เชี่ยว เป็นหัวหน้าคนงานในบริษัทตัดไม้ ก่อนที่จะทํางานนี้ เชี่ยวเป็น
ผู้ชายธรรมดาคนหนึ่ง เขาพาเมียมาตั้งรกรากและเรียนรู้วิถีแห่งป่าจากพ่อตา เป็นพรานเฒ่าผู้กล้าชื่อลุงสุข
เชี่ยวชอบเดินป่าเขาจึงเรียนรู้และสั่งสมวิชาพรานจากลุงสุข จึงชํานาญวิถีของป่ามากขึ้น เชี่ยวติดตามลุงสุข
เข้าป่าหลายครั้งได้เห็นวิธีการเอาชีวิตรอดจากป่าและการล่าสัตว์ สิ่งสําคัญที่ลุงสุขสอนเชี่ยวเสมอคือ ปรัชญา
ของพรานที่สอนให้ล่าสัตว์เพื่อการยังชีพ ไม่ละโมบ ไม่ฆ่าสัตว์ตัวเมียที่มีลูกอ่อน เพื่อรักษาระบบนิเวศให้ยั่งยืน
วันหนึ่งเกิดเหตุร้าย มีหญิงสาวคนหนึ่งถูกเสือลากไปกิน ทําให้ชาวบ้านหวาดกลัว ลุงสุขและเชี่ยวจึงอาสาเข้า
ป่าไปล่าเสือได้สําเร็จจนเป็นที่ยกย่องของชาวบ้าน การล่าเสือทําให้เชี่ยวก้าวสู่วิถีแห่งพรานมากขึ้น ต่อมาเมื่อ
รัฐบาลอนุญาตให้ทํากิจการป่าไม้ มอบสัมปทานป่าหัวเมืองที่กว้างใหญ่นี้ เนื่องจากเห็นว่าอุตสาหกรรมส่งออก
ไม้ ทํารายได้เข้าประเทศมากมหาศาล เกิดโครงการโค่นป่าเพื่อทําทางลากไม้ นอกจากนั้นรัฐยังได้ดําเนินการ
สร้างทางรถไฟเพื่อลากไม้และลําเลียงซุงออกจากป่า แต่การแผ้วถางป่าทําได้ยากเพราะพื้นที่นี้เป็นป่าดงดิบ
จึงต้องอาศัยผู้ชํานาญป่า เพราะความสามารถในเชิงพรานและความเที่ยงธรรมทําให้เชี่ยวเข้าไปเป็นหัวหน้า
คนงาน การทํางานนี้ทําให้เชี่ยวเห็นความเปลี่ยนแปลงของป่า และพบเจอผู้คนที่แสวงประโชน์จากทรัพยากร
ในป่ามากมาย เขาต้องต่อสู้กับอันตรายในป่าดงดิบและคนที่ขาดสํานึกต่อธรรมชาติ สุดท้ายเชี่ยวเกิดข้อพิพาท
กับนายทุนกลุ่มหนึ่ง ในที่สุดจึงถูกฆ่า เชี่ยวตายอยู่กลางป่าท่ามกลางการก่อสร้างรางรถไฟเข้าไปขนซุง