Page 195 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 195
194 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
จากการสํารวจข้อมูลเบื้องต้น ผู้ศึกษาพบว่า วัธนา บุญยังใช้วรรณกรรมเป็นสื่อในการถ่ายทอดสารและ
ทัศนะของเขาที่มีต่อธรรมชาติ ตลอดจนแสดงความกังวลใจ โดยเฉพาะเกี่ยวกับป่าไม้ถูกทําลาย เขาเชื่อว่า “ป่า”
คือบ่อเกิดของความอุดมสมบูรณ์ ทัศนะนี้พ้องกับความคิดเรื่อง mother nature ธรรมชาติคือผู้ก่อกําเนิดและมี
คุณค่าต่อสรรพชีวิต แม้บางครั้งธรรมชาติ/ป่าจะโหดร้ายต่อมนุษย์ แต่วัธนา บุญยังย้ําเตือนผู้อ่านของเขาเสมอ
เสนอว่า “ป่าก็คือป่า ยังคงเป็นผู้ให้เสมอมา เปรียบเหมือนแม่ผู้ให้กําเนิด ป่าคือความรื่นรมย์และเป็น
แหล่งกําเนิดของมวลชีวิต ครั้งหนึ่งในเมืองไทยของเราเคยมีป่าใหญ่ที่สมบูรณ์ อุดมไปด้วยพันธุ์ไม้และ
สัตว์นานาชนิด อีกทั้งยังเป็นแห่งหากินและอยู่อาศัยของผู้ยากไร้มากมาย กาลเวลาผ่านไปมนุษย์พยายาม
ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเองมาโดยตลอด ป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์ค่อย ๆ สูญสิ้นไปพร้อมกับสัตว์
ป่านานาชนิด อย่างไม่อาจหามาทดแทนได้” (รอยยิ้มในป่าใหญ่, 2545: บทนํา)
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาแนวคิดเรื่องป่าชุมชนและสิทธิในการจัดการทรัพยากรของชุมชน
ในวรรณกรรมของวัธนา บุญยัง จากวรรณกรรมจํานวน 5 เรื่อง ได้แก่ ใบไม้ร่วงในป่าใหญ่ (2531) พรานคน
สุดท้าย (2534) หอมกลิ่นป่า (2542) ไพรมืด (2546) และ รางเหล็กในป่าลึก (2552) วัธนาใช้ประสบการณ์จาก
การเดินสํารวจป่าและความสนใจพิเศษในเรื่องธรรมชาติเป็นพื้นฐานในการเสนอภาพความอุดมสมบูรณ์ของ
ป่าไม้ในอดีต วิถีของสรรพชีวิตในป่าที่เกื้อกูลกัน และภูมิปัญญาของชุมชนที่ทําให้เห็นเป็นความผูกพันระหว่าง
คนกับป่าไม้ ไว้ในวรรณกรรมของเขา สิ่งนี้เป็นข้อยืนยันให้เห็นจุดยืนที่ชัดเจนในการให้ความสําคัญแก่ปัญหา
สิ่งแวดล้อม ดังที่ปรากฏในเนื้อหาของวรรณกรรมที่เป็นข้อมูลในการศึกษาดังนี้
ใบไม้ร่วงในป่าใหญ่ เป็นเรื่องของนายพรานคนหนึ่งชื่อ ลุงหนู เขาพาครอบครัวเร่ร่อนเข้าไปอาศัยสร้าง
บ้านพักและดํารงชีวิตกันอย่างสันโดษและสงบสุขในป่า ยังชีพด้วยการล่าสัตว์ และเก็บพืชสมุนไพรมาทํากินและ
ขายประทังชีพ แต่การรุกเข้ามาของความเจริญ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมป่าไม้ ทําให้มีแรงงานเข้ามาทํางานตัดไม้
ตามมาด้วยการเกิดชุมชนขนาดใหญ่ ลุงหนูต้องเร่ร่อนหนีเข้าไปอยู่ในป่าลึกขึ้นเรื่อยๆ เพราะลุงหนูเป็นพราน แต่
การดํารงชีพตามวิถีแห่งพรานในป่าลึกเป็นเรื่องยากลําบาก ในที่สุดครอบครัวลุงหนูก็ต้องพบกับความสูญเสีย
พรานคนสุดท้าย เป็นเรื่องราวของนายพรานที่ชํานาญเส้นทางและวิถีแห่งป่ามากจนเป็นที่นับถือชื่อ
พรานหริ่ง เขานําครอบครัวเข้าไปอาศัยอยู่ในป่า แผ้วถางป่าพอสร้างบ้าน และดํารงชีพตามวิถีพราน คือไม่คิดทํา
ไร่ แต่จะเข้าป่าล่าสัตว์และเก็บพืชผักในป่ามาเป็นอาหารแต่พอดี พรานหริ่งมีหน้าที่ติดต่อกับคนภายนอกชุมชน
จึงรู้ดีว่า วิถีชีวิตของพวกตนวันหนึ่งต้องเปลี่ยนแปลง เพราะต่อมาได้มีผู้คนทยอยเข้ามาอาศัยในบริเวณเดียวกับ
ครอบครัวพรานหริ่ง เกิดเป็นชุมชนเล็กๆ ในป่าอยู่ร่วมกันอย่างสงบ มีพรานหริ่งเป็นเสมือนผู้นํา คอยจัดการ ดูแล
และแก้ไขปัญหาต่างๆ ตั้งแต่การสร้างบ้าน การเข้าป่าหาอาหารและการปกป้องชุมชนจากอิทธิพลภายนอก เช่น
นายทุน คนงานตัดไม้ และข้าราชการจากเมืองหลวง สิ่งที่พรานหริ่งเรียนรู้จากโลกภายนอกยิ่งทําให้เห็นว่า ป่า
กําลังตกอยู่ในอันตราย